ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275931คำสำคัญ:
ผู้ปรุง; , อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคที่หันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับอาหารและส่วนประกอบของอาหารที่รับประทานเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 237 พ.ศ. 2544 ข้อ 6 เพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนโดยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากอาหารและเพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนจากอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงเพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีของต่างประเทศและประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 4) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยจากเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจาก วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ หนังสือ ตำราเอกสารทางวิชาการอื่นๆ รวมถึงข้อมูลสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายไทยเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการควบคุมการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมรับประทานทันทีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ผลการศึกษา: 1) การปกป้องสิทธิของผู้บริโภคและกำหนดความรับผิดชอบของผู้ปรุงอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 2) กฎหมายประเทศไทยในการแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ยังไม่มีความละเอียดในการบัญญัติกฎหมายให้ครอบคลุมผู้บริโภคอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 3) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้เงื่อนไขไม่ใช้บังคับแก่อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรงไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติอาหารของไทย กฎหมายที่เข้ามาควบคุมอาหารให้มีคุณภาพเป็นข้อยกเว้นที่ทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายซึ่งกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง 4) ควรมีการเพิ่มกฎหมายโดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และ แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 237 พ.ศ. 2544 ดังนี้ (1) คำนิยามคำว่า “ผู้ปรุง” (2) การขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่ประกอบอาหาร (3) ฉลากอาหารสำหรับอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที (4) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอาหารและยา สามารถแก้ไขปัญหาการควบคุมการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมรับประทานทันทีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นประโยชน์การควบคุมอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีที่ประชาชนบริโภคต่อไป
สรุปผล: การปรับเปลี่ยนกฎหมายปัจจุบันและประกาศกระทรวงถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการผลิตและการติดฉลากอาหารพร้อมบริโภค สิ่งนี้แสดงให้เห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าการขายตรงถึงผู้บริโภคได้รับการยกเว้นจากกฎระเบียบปัจจุบัน ในท้ายที่สุด การปรับปรุงการคุ้มครองผู้บริโภคและการควบคุมการผลิตอาหารพร้อมรับประทานอย่างมีประสิทธิผลจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งสามารถทำได้โดยการเสริมสร้างคำจำกัดความ ข้อกำหนดในการอนุญาต มาตรฐานการติดฉลาก และการกำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. พ.ศ.2522 และกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 237 พ.ศ.2544
References
จักรพันธ์ เพชรภูมิ. (2560). พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฏฐ์ระพี วงศ์ชนเดช. (2562). ปัญหาทางกฎหมายด้านการควบคุมระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5 (2), 255-264.
ธีรวุฒิ ทองทับ. (2553). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา: ศึกษาเฉพาะกรณีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มาลี จิรวงศ์ศรี. (2561). มาตรฐานและกฎหมายเกี่ยวกับอาหาร. Retrieved from: https://www3.rdi. ku.ac.th/wp-contents/uploads/A2.pdf.
รัษวรรษ อภิลักขิตกาล. (2561). มาตรฐานและกฎหมายอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2560). สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ณ สถานที่จำหน่าย (กรุงเทพมหานคร). กรุงเทพฯ: หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร.
สุษม ศุภนิตย์. (2551). คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Johnson, A., & Brown, C. (2020). Enhancing the Safety of Ready-to-Eat Foods: Challenges and Opportunities. Food Control, 112, 107127. https://doi.org/10.1016/j.foodcont.2020.107127
Lee, J., & Kim, S. (2021). Application of Sous-Vide Cooking for Enhancing the Microbiological Safety of Ready-To-Eat Foods. Food Science and Technology Research, 27(3), 375–382. https://doi.org/10.3136/fstr.2021-0006
Smith, T.J., Jones, R., & Patel, A. (2019). Cooking Control as a Critical Step in Ensuring the Microbiological Safety of Ready-to-Eat Foods. Journal of Food Protection, 82(9), 1593–1605. https://doi.org/10.4315/0362-028x.jfp-19-032
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ