บทเพลงสร้างสรรค์ประกอบวงกลองยาวประยุกต์ ของหมู่บ้านหนองเม๊ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศศิพงศ์ วงศ์ษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0006-6805-9262

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.275382

คำสำคัญ:

บทเพลง, ประกอบการแสดง, วงกลองยาวประยุกต์, การประพันธ์เพลง

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เพลงที่สร้างสรรค์ซึ่งมีกลองยาวเป็นเครื่องดนตรีหลักช่วยเพิ่มความลึกและความเข้มข้นทางวัฒนธรรม ส่งผลให้จังหวะมีพลวัตซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ทางดนตรี เสียงก้องกังวานของกลองยาวและจังหวะที่ซับซ้อนทำให้เพลงมีผลกระทบทางอารมณ์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้ฟังกับรากเหง้าดั้งเดิม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประพันธ์ดนตรีในกลองยาวพื้นบ้านอีสานหมู่บ้านหนองเม๊ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ประพันธ์ทำนองและจังหวะของกลองยาวพื้นบ้านอีสานประยุกต์ หมู่บ้านหนองเม๊ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้วิจัยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) กลุ่มประชากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านดุริยางคศิลป์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกโน้ตดนตรี 3) วิธีดำเนินการวิจัยดำเนินโดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการลงภาคสนาม 4) การวิเคราะห์ข้อมูลคือการประพันธ์ทำนองเพลงวงกลองยาวประยุกต์ และการประพันธ์กระสวนจังหวะวงกลองยาวประยุกต์ 5) การสรุปและการนำเสนอผลงาน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ผลการวิจัย: 1) บทเพลงประกอบการแสดงวงกลองยาวประยุกต์ ของหมู่บ้านหนองเม๊ก อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยถ่ายทอดทำนองโดยใช้เครื่องดนตรีพิณอีสาน ใช้โน้ตสากลในการบันทึกเสียงดนตรี ผู้วิจัยได้ประพันธ์ทำนองประกอบด้วยทั้งหมด 3 ท่อน มีจำนวนห้องเพลงทั้งสิ้น 44 ห้องเพลง ใช้บันไดเสียงเพนทาโทนิก มีการเคลื่อนที่ของทำนองในรูปแบบทิศทางขึ้นแล้วลง 2 ) ผู้วิจัยได้บันทึกกระสวนจังหวะ ผ่านตัวโน้ตได้กระสวนจังหวะ ได้จำนวนห้องเพลงทั้งสิ้น 31 ห้องเพลง มีรูปแบบกระสวนจังหวะทั้งหมด 5 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 ท่อนขึ้น เป็นการรัวกลอง ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก เพื่อเปิดการแสดง รูปแบบที่ 2 เป็นการตีในรูปแบบรำโทนโคราช รูปแบบที่ 3 เป็นการตีในรูปแบบขัดกลาง รูปแบบที่ 4 เป็นการตีในรูปแบบรำนางกระด้ง รูปแบบที่ 5 เป็นการตีในรูปแบบจังหวะขัดจบ

สรุปผล: การศึกษานี้เน้นการผสมผสานระหว่างดนตรีอีสานดั้งเดิมกับดนตรีสมัยใหม่ แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างจังหวะวัฒนธรรมและโน้ตดนตรีสากล เน้นการประพันธ์เพลงและรูปแบบจังหวะที่ซับซ้อนซึ่งทั้งรักษาและสร้างสรรค์มรดกทางดนตรีของหมู่บ้านหนองเม็ก

References

คาร มณีสิงห์. (2564). ประวัติหมู่บ้าน. Retrieved January 11, 2022, from: https://www.c-buayai.com/buayai/frontend/index.php?r=site%2Fbuayai&com_id=158

จังหวัดนครราชสีมา. (2563). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครราชสีมา. Retrieved January 13, 2022, from: https://www2.nakhonratchasima.go.th/content/general.

บ้านแสนสุขดอทคอม. (2552). วงกลองยาวอีสานของมหาสารคาม. Retrieved May 17, 2022, from: http://www.bansansuk.com/krungsri/วงกลองยาวของมหาสารคาม.html.

มธุริน เริ่มรุจน์. (2550). ดนตรีไทยร่วมสมัย : กรณีศึกษาวงกอไผ่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิพงศ์ วงศ์ษา. (2565). บทเพลงสร้างสรรค์ประกอบวงกลองยาวประยุกต์ ของหมู่บ้านหนองเม๊ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สงัด ภูเขาทอง. (2531). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

Baltzis, A.G. (2005). Globalization and Musical Culture. Acta Musicologica. 77 (1), 137-150

Dinh, L. (2023). Preserving Folk Music in Community Cultural Events as a Method of Preserving Traditional Heritage: A Case Study of the Ta Oi Ethnic Group in Thua Thien-Hue Province, Vietnam. Malaysian Journal of Music. 12 (1), 34-47. 10.37134//mjm.vol12.1.3.2023.

Hiswara, A, Aziz, A.M., & Pujowati, Y. (2023). Cultural Preservation in a Globalized World: Strategies for Sustaining Heritage. West ScienceSocial and HumanitiesStudies. 1 (3). 98-106.

Lidskog, R. (2017). The role of music in ethnic identity formation in diaspora: a research review. International Social Science Journal. 66, 23-38. doi: https://doi.org/10.1111/issj.12091

Shattingermusic. (2019). ประวัติเครื่องดนตรีไทย กลองยาว. Retrieved May 17, 2022, from: https://www.shattingermusic.com/ประวัติกลองยาว.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-12

How to Cite

วงศ์ษา ศ. . (2025). บทเพลงสร้างสรรค์ประกอบวงกลองยาวประยุกต์ ของหมู่บ้านหนองเม๊ก ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 907–922. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.275382