การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ ศรีจันทร์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://orcid.org/0009-0003-4548-5056
  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://orcid.org/0000-0002-4849-405X
  • ปราโมทย์ พรหมขันธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://orcid.org/0009-0006-2044-8808

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275137

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน; , ความสามารถ; , โน้ตดนตรีสากล;, สมาร์ทโฟน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยใช้เทคนิค 6Ts กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 8 และห้อง 9 ที่เรียนรายวิชาศิลปศึกษา (ดนตรี) ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการทดลองวัดผลหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม (Randommized Control Group Posttest Only Design) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีสากล 2) แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 3) แบบทดสอบประเมินผลระหว่างการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบประเมินผลหลังการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การทดสอบทีแบบอิสระต่อกัน (t-test independent test)

ผลการวิจัย: 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55  และมีประสิทธิภาพแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนาม เท่ากับ 86.67/88.89 81.11/86.67 และ 80.83/85.22 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์กำหนด 2) การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า  กลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ดีกว่าควบคุม อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

สรุปผล: ผลการวิจัยสรุปได้ว่ากลุ่ม แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts  มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ และเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนได้

References

กานต์นนท์ จุลกาญจน์นนท และคณะ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีสากล ตามแนวคิดการสอนของ โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 477-487.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, 5(3), 7-20.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พงศกร ศรีโชค. (2566). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เรื่อง ผลการพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโพนงามพิทยาคาร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 20(89), 92-97.

พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร. (2555). คู่มือเขียนแอพ Android สำหรับผู้เริ่มต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2545). คู่มือการพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายวิชาการ. 2545.

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก, และ พงศ์วัชร ฟองกันทา. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยกรณ์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารจันทรเกษมสาร. 28(1), 125-140.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2549). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โครงการส่งเสริมการผลิตตำราและเอกสารการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). วิกฤติเนื่องจากการปฏิวัติเทคโนโลยี ตามแนวคิดของบิลล์ เกตส์. กรุงเทพฯ: มติชน.

วรพล หนูนุ่น. (2558). เวลา (Time). Retrieved on 16 August 2023 from: https://www.gotoknow.org/posts/5821.

วิชญ์ บุญรอด. (2564). การเรียนการสอนออนไลน์วิชาปฏิบัติดนตรี โดยการประยุกต์ใช้ เทคนิค 6Ts ของ Richard Allington. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(1), 283-296.

สุภาพร ดำอุไร. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชันสำหรับครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 345-358.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). แนวคิดและเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อวยชัย ผกามาศ. (2542). วาทการ. พิมพ์ครั้งที่ 3 : สถาบันราชภัฏภูเก็ต.

อัษฎาวุธ สุขจำนงค์. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเรื่องการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล ตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประสาทวิทยาคาร. วารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(1), 155-164.

Allington, R. (2002). What I've learned about effective reading instruction: From a decade of studying exemplary elementary classroom teachers. Phi Delta Kappan, 83, 740-747.

Buakanok, F.S., Fongkanta. P., & Jaengaksorn, N. (2022). Digital Social Media Development for Learning to Promote the Power of Mental Health of the Elderly. Journal of Education and Learning. 11(4), 52-60.

Genc – Nayebi, N., & Abran, A. (2017). A systematic literature review: Opinion mining studies from the mobile app store. Journal of System & Software, 125, 207–219.

Hwang, G.-J., & Wu, P.-H. (2014). Applications, impacts, and trends of mobile technology-enhanced learning: A review of 2008–2012 publications in selected SSCI journals. International Journal of Mobile Learning and Organization, 8(2), 83-95.

Tharahorm, T. (2019). An Online Instruction Learning Model with 6Ts Techniques for Enhancing Reading Skills of Undergraduate Students. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 10(1), 79-93.

Zydney, J.M., & Warner, Z. (2016). Mobile app for science learning: Review of research. Computers & Education, 94, 1-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-08

How to Cite

ศรีจันทร์ ณ. ., ฌอณ บัวกนก ฟ. ., & พรหมขันธ์ ป. . (2024). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับเทคนิค 6Ts เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 825–842. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275137

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ