มาตรการทางกฎหมายในการจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคม: ศึกษากรณีสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275055

คำสำคัญ:

คะแนนเครดิต; , การจัดอันดับเครดิต; , รายงานเครดิต;, คะแนนเครดิตทางสังคม

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ระบบคะแนนเครดิตทางสังคมมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดของรัฐบาลจีนที่ต้องการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยเชื่อว่าการส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีและปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม โดยรัฐต้องการใช้ระบบคะแนนเครดิตทางสังคมเป็นเครื่องมือของในการควบคุมพฤติกรรมของพลเมืองและของผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในบริบททางพฤติกรรมของประชาชน การแข่งขันทางการค้าและเทคโนโลยี ดังนั้นการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคมในประเทศไทย โดยใช้กรณีศึกษาระบบคะแนนเครดิตทางสังคมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคม 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียในการใช้ระบบคะแนนเครดิตทางสังคมกับมาตรการทางกฎหมายในการจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคม 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางมาตรการทางกฎหมายในการจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคม กรณีการนำมาใช้ในประเทศไทย

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้วิธีการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเอกสาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมาใช้ประกอบการวิจัย หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการเรียบเรียงและวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นต่าง ๆที่เป็นสมติฐานในการวิจัยทั้งกรณีการจัดทำคะแนนเครดิตทางสังคมในประเทศจีน และกรณีศึกษาของประเทศไทย

ผลการวิจัย: (1) ระบบคะแนนเครดิตทางสังคมมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดของรัฐบาลจีนที่ต้องการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยเชื่อว่าการส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีและปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม โดยรัฐต้องการใช้ระบบคะแนนเครดิตทางสังคมเป็นเครื่องมือของในการควบคุมพฤติกรรมของพลเมืองและของผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในบริบททางพฤติกรรมของประชาชน การแข่งขันทางการค้าและเทคโนโลยี (2) ระบบคะแนนเครดิตทางสังคมมีความสัมพันธ์และมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนหรือการประกอบธุรกิจอย่างยิ่ง การจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคมมีข้อกังวลหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ ความโปร่งใสและความเป็นธรรม การละเมิดความเป็นส่วนตัวและผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะผลกระทบต่อสังคมและอาจนำไปสู่สังคมที่แตกแยกกันได้ (3) การจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคมในประเทศไทยนั้นอาจจำแนกได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ การนำระบบฯ มาใช้เฉพาะในส่วนกำหนดพฤติกรรมที่ดี โดยมุ่งใช้การให้รางวัลกับบุคคลที่มีคะแนนเครดิตทางสังคมที่ดี โดยไม่นำกลไกการลงโทษหรือการบังคับมาใช้ กรณีนี้จึงอยู่บนพื้นฐานในเรื่องความยินยอมและความสมัครใจเป็นหลัก และการนำระบบฯ มาใช้อย่างครอบคลุมหลายภาคส่วน ซึ่งกรณีหลังจะต้องมีการจัดทำนโยบายที่ชัดเจน ควรมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและจัดทำกฎหมายในการจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคมในประเทศไทย

References

ธนาคารกรุงเทพ. (2565). TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี. Retrieved on December 20, 2022 from: https://www.bangkokbanksme.com/en/ttrs-technologyratingsystem-sme.

Ares Management Corporation. (2020). Alternative Credit – The Road Less Traveled. Spring.

Deloitte. (2021). China drafts the Personal Information Protection Law (PIPL), a General introduction, and impact analysis. Making an Impact that Matters, May 2021. Retrieved from: https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/cn/Documents/risk/deloitte-cn-ra-personal-information-protection-law-brochure-en-210706.pdf

GPFI. (2018). Use of Alternative Data to Enhance Credit Reporting to Enable Access to Digital Financial Services by Individuals and SMEs operating in the Informal Economy. Guidance Note Prepared by International Committee on Credit Reporting (ICCR) June 28, 201

Liu, C. (2010). A Tale of Two Social Credit Systems: The Succeeded and Failed: Adoption of Machine Learning in Sociotechnical Infrastructures. Oxford Handbook of the Sociology of Machine Learning.

Pieke, F.N. (2022). CPC Futures the New Era of Socialism with Chinese Characteristics. Singapore: National University of Singapore Press.

Síthigh, D.M., & Siems, M. (2019). The Chinese Social Credit System: A Model for Other Countries. Department of Law: European University Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31

How to Cite

คุณเงิน แ. . (2024). มาตรการทางกฎหมายในการจัดทำระบบคะแนนเครดิตทางสังคม: ศึกษากรณีสาธารณรัฐประชาชนจีน: . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(3), 335–352. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275055