ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0000-5403-8838
  • สุรวุฒิ คนองมาตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0009-9604-4174
  • มนัสชัย คชสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0008-8389-0649
  • ประสงค์ สงนอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0002-3734-0538
  • บุญหลาย รัตน์สันเทียะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0009-0149-6697

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273531

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, , ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, , ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ คือ การเป็นผู้ที่มีความสามารถในการกำหนดทิศทาง สร้างแรงบรรดาลใจ กำหนดวิสัยทัศน์ได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยยึดเป้าหมายและภารกิจขององค์การเป็นหลัก รวมทั้งสามารถถ่ายทอดผลักดันให้การบริหารเชิงกลยุทธ์ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาและขนาดของสถานศึกษา  

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,763 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 337 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test

ผลการวิจัย: (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยูในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่างๆ มากำหนดกลยุทธ์ รองลงมา คือ ด้านความคิดความเข้าในระดับสูง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปผล: ผลวิจัยระบุว่าภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีระดับมากทั้งทางรวมและทางรายด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้า และค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ การเปรียบเทียบตามระดับการศึกษาและขนาดของสถานศึกษาไม่แสดงความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งชี้ว่าความคิดเกี่ยวกับผู้นำมีความสมาชิกทั่วไปที่คล้ายคลึงกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งในทางทั่วไปและในบริบทของการศึกษาและขนาดของสถานศึกษาที่ได้รับการตีความแบบไม่ต่างกัน

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ไชยา ภาวะบุตร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ฏิมากร บุ้นกี้. (2563). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พระครูสุตธรรมวรกิจ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : บริษัทน้ำทิพย์ทัวร์.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม : บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ปจำกัด.

มูฟีด วาโซะ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). นครราชสีมา : กลุ่มนโยบายและแผน.

อดิพงษ์ ผะเดียงฉันท์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(5), 305–321.

อนุสรา เย็นวัฒนา และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2565.) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 9(3),71.

Bovee, C., Thill, J., Wood, M., & Dovel, G. (1993). Management. New York: McGraw-Hill.

DuBrin, A.J. (2007). Leadership: Research Findings Practice, and Skills. 5thed. Boston MA: Houghton Mifflin Company.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lussier, R., & Achua, C. (2010). Effective Leadership. 4thed. Cannada: Nelson Education, Ltd.

Schermerhorn, J.R. (2008). Management. g' ed. Asia: John Wiley and Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-03

How to Cite

มุ่งเฝ้ากลาง จ., คนองมาตย์ ส., คชสิทธิ์ ม., สงนอก ป., & รัตน์สันเทียะ บ. (2024). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 1–14. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273531

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ