การพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบโดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดใต้

ผู้แต่ง

  • สมภารธัชธรณ์ ศิโลศรีไช สาขาวิชาชีพครู คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://orcid.org/0009-0006-2603-9888
  • จุฑาทิพย์ หาญกุดตุ้ม สาขาวิชาชีพครู คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://orcid.org/0009-0002-8942-6915

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273162

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน;, ทักษะการคิดเชิงระบบ; , นักเรียน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้า ทางการศึกษาย่อมส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านคุณภาพประชากร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และวัฒนธรรม การศึกษามิควรถูกจำกัดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากแต่ควรถูกปลูกฝังให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ทักษะการตั้งคำถามและทักษะการคิดเชิงระบบมีบทบาทสำคัญ ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมาก โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐาน 2) พัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบ โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน รูปแบบวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR)

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดใต้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องอัลกอริทึมและการแก้ปัญหา 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการคิดเชิงระบบ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน 4) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงระบบ และ 5) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ ในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิภาพ(E1/E2)

ผลการวิจัย: 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดใต้ มีค่าเท่ากับ 84.13/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) การพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบหลังการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐาน ร่วมกับชุดกิจกรรมทักษะการคิดเชิงระบบ เรื่องอัลกอริทึมและการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยมีร้อยละค่าเฉลี่ย เท่ากับ 82.00 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการสัมภาษณ์ ผู้เรียนมีความพึงพอใจเชิงบวกต่อการจัดการเรียนรู้ในด้านสภาพแวดล้อม ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านบุคลิกภาพของผู้สอน

สรุปผล: ผลการวิจัยรายงานชี้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐานในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านลาดใต้มีประสิทธิภาพสูงและเกินเกณฑ์ที่กำหนด (ค่าเท่ากับ 84.13/82.00) นอกจากนี้ การพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบที่ผสมกับการใช้คำถามเป็นฐานและชุดกิจกรรมทักษะเพิ่มเติมได้ซึ่งผลสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 (ค่าเฉลี่ย 82.00) และนักเรียนแสดงความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐานในด้านสภาพแวดล้อม, การจัดการเรียนการสอน, และบุคลิกภาพของผู้สอน เป็นที่น่าพอใจ.

References

เกียรติพร สินพิบูลย์ และคณะ. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2), 165-177.

จุฑาทิพย์ หาญกุดตุ้ม, สมภารธัชธรณ์ ศิโลศรีไช และประชัน คะเนวัน. (2566). การคิดเชิงระบบกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(4), 587-600.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประภัสสร สมสถาน. (2564). การหาประสิทธิภาพและผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ หมวดร่างกาย วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนานาชาติยูนิตี้คอนคอร์ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(1), 1-14.

พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช. (2558). Question-Based Learning (QBL) คืออะไร. Retrieved 22 November 2022, from: https://personality-development-stc.blogspot.com/2015/07/question-based-learning-qbl.html/

พิชญ์สินี เจดีย์รัตน์, สิงหา ประสิทธิ์พงศ์ และอรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(1), 61-75.

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ.วารสารครุศาสตร์,45 (2),209-224.

ศิริลักษณ์ ไทยพงษ์. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). การบริหารเขตพื้นที่การศึกษา : เพื่อคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ :สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สามลดา.

Assaraf, O., & Orion, N. (2010). System Thinking Skills at the Elementary School Level. Journal of Research in Science Teaching, 47(5), 540-563.

Einstein, A. (1939). The Special & The General Theory. London: Methuen & Co. Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-28

How to Cite

ศิโลศรีไช ส. ., & หาญกุดตุ้ม จ. . (2024). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบโดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คำถามเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดใต้. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(1), 357–376. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273162