การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272624

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์; , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก; , ทักษะการอ่าน; , ภาษาไทย

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนณัฐบรรจงวิทยา จังหวัดลำปาง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1)แผนจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ 3)แบบประเมินทักษะการอ่าน 4)แบบประมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและ 5)แบบประเมินความพึงของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยเกณฑ 80/80 จากสูตร E1/E2 การวิเคราะห์การทดสอบที (t-test) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: 1)หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมีประสิทธิ์ภาพ 85.33/89.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 25.95 3)คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 54.57 4)ระดับความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด  

สรุปผล: หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมีประสิทธิ์ภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกมีค่าสูงกว่าคะแนนคะแนนประเมินทักษะการอ่านก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกมีค่าสูงกว่าคะแนนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนของนักเรียน นักเรียนนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก มีระดับความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา นาคสกุล. (2550). แบบการเสริมสร้อยในภาษาไทยและภาษาเขมร. ภาษาและวรรณคดีไทย, 14, 1-27.

ขจรศักดิ์ ทองรอด. (2559). กระบวนการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้. วารสารสังคมศาสตร์ เทคโนโลยีสุรนารี, 10(1), 105-116.

จงชัย เจนหัตถการกิจ. (2555). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2560). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 332- 346.

ชลาธร วิเชียรรัตน์,ภัทรภร ชัยประเสริฐ,สพลณภัทร ศรีแสนยงค์. (2559). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก วิชาเคมี เรื่อง อนุพันธ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 142–151.

ชัยยงค พรหมวงศ. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,5(1), 7-20.

ฐิติกานต์ แก้ววิเศษ. (2565). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุกโดยใช้วรรณคดีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(3), 67-80.

ดวงใจ กาญจนศิลป์. (2552). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : ทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบใหม่. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 27(1-3), 110–122.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิยา เยาดำ,ศิริชัย กาญจนวาสี,ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2562). การพัฒนาองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: เทคนิคเดลฟาย. วารสารครุศาสตร์, 47(1), 103-122.

นพเก้า ณ พัทลุง. (2559). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับนักเรียนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ในรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(1), 45-50.

นฤพัชร มิลังค์,สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์ และอุดมรัตนอัมพรโสภณ. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การสอนอ่านแบบ SQ3R . วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 108-116.

ประภัสสร ทัศนพงศ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทย ตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางและพหุสัมผัส สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 81-89.

พชรวลี กนิษฐเสน. (2565). การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นในจังหวัดลําปางเพื่อพัฒนาการอ่านและการคิดวิเคราะห์.วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 837–844.

พเยาว์ โพธิ์อ่อน. (2559).การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 1-9.

พรรัตน์ ถิระนันท์,อลิศรา ชูชาติ,ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ. (2562). การพัฒนากรอบมาตรฐานหลักสูตรการอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจสำหรับชาวต่างชาติ. วารสารครุศาสตร์, 47(1), 263–279.

พิณทอง จิรังกรณ์, บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2554). การพัฒนาชุดการสอนอ่านภาษาไทยตามแนวบีบีแอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 6(16), 67-74.

พีรภาว์ ลบช้าง, น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเกมการแข่งขันสะกดคำวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(85), 61-68.

วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

สัญญา สอนบุญทอง,โกชัย สาริกบุตร, สนิท สัตโยภาส. (2560). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดมารยาทไทย สำหรับผู้อ่านภาษาไทย แบบข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาปีที่ 6. พิฆเนศวร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 13(1), 193-204.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554) ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.2552-2561. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ออนมา ออง,กอบสุข คงมนัส. (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง พยัญชนะและสระภาษาไทย สำหรับนักศึกษาเมียนมา ระดับปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 266–278.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06

How to Cite

ใจมา พ. ., & ปลอดแก้ว ก. . (2023). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 879–898. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272624