การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อตัดสินใจเลือกใช้สถานีบริการน้ำมันของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271806คำสำคัญ:
สถานีบริการน้ำมัน; , ประเภทของรถยนต์; , ปัจจัยด้านการตลาดบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ประเทศไทยมีการแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม รวมไปถึงธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ที่มีความหลากหลายแบรนด์จากต่างชาติ จากที่เมื่อก่อนสถานีบริการน้ำมันมีไว้แค่เติมน้ำมันอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันสถานีบริการน้ำมันมีบริการที่หลากหลายขึ้น มีคุณภาพและบริการที่ให้เลือกหลากหลาย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ (1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสถานีน้ำมันในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวิธีการ Multinomial Logistic Regression (2) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มที่ผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการสถานีน้ำมันในจังหวัดเชียงใหม่
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในจังหวัดเชียงใหม่เพศชายและเพศหญิง จะหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครนคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ในกรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากร ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยการสุ่มแบบบังเอิญ ในการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ ประเภทของรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ ค่าน้ำมันต่อเดือน สถานีบริการน้ำมันที่ผู้บริโภคเลือกใช้ ความถี่ในการเติมน้ำมัน ลักษณะการเติมน้ำมัน น้ำมันที่เติมเป็นประจำ กระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำมันของผู้บริโภค และปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำมันของผู้บริโภค และความคาดหวังของผู้บริโภคจากการเลือกใช้บริการจากสถานีน้ำมัน ในการสํารวจข้อมูลด้านการตัดสินใจในความพึงพอใจที่มีต่อการบริการ 7 ด้าน ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านสถานที่ช่องทางการให้บริการ (Place) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ด้านพนักงานผู้ให้บริการ (People) ด้านกายภาพและรูปแบบการให้บริการ (Physical Evidence) และด้านกระบวนการในการให้บริการ (Process)
ผลการวิจัย: ความพึงพอใจที่มีต่อการบริการ เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับสถานีบริการน้ำมัน และสิ่งที่สำคัญรองลงมาเป็นการในการให้บริการ ที่มีมาตรฐานและปลอดภัย และอย่างสุดท้ายคือพนักงานมีการแต่งกายสะอาด สุภาพ ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจการเลือกใช้ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันจากปัจจัยเหล่านี้
สรุปผล: ความพึงพอใจต่อการบริการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสถานีบริการน้ำมัน โดยตามมาด้วยการให้บริการที่มีมาตรฐานและปลอดภัย และปัจจัยสุดท้ายคือการแต่งกายของพนักงานที่สะอาดและสุภาพ ทั้งนี้ทั้งหมดมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการจากสถานีบริการน้ำมัน
References
กระทรวงพลังงาน. 2558. แผนยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน พ.ศ. 2555-2558. Retrieved on 19 September 2022 from: http://www.eppo.go.th.
ณัฐพัฒน์ กว้างศิริพร. 2562. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนานันต์ พลายน้อย. 2545. ปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันเบนซินในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พรพิมล ศรีประเสริฐรัตน์. 2549. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันต่อต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทย. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สิรวิชญ์ แป้นชีวิต. (2562). การตัดสินใจเลือกใช้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร.สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Bitner, M. J. (1992). Servicescapes: The impact of physical surroundings on customers and employees. Journal of Marketing, 56(2), 57-71.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.
Gronroos, C. (2001). Service management and marketing: A customer relationship management approach. Chichester, UK: John Wiley & Sons.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Praewpannarai Wannarangsri

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ