การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถ การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ทยิดา เลิศชนะเดชา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) https://orcid.org/0009-0000-2161-0818

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.292

คำสำคัญ:

การคิดเชิงออกแบบ; , การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้; , ความสามารถการออกแบบ

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีวิธีการสอนของครูผู้สอนที่ยังมุ่งเน้นการท่องจำเนื้อหาที่มีปริมาณมาก ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการจดบันทึกมากกว่าการส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด
และการจัดการเรียนการสอนยังไม่ได้เน้นการคิดเชิงออกแบบ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ 2) เพื่อศึกษาความสามารถการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา
ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา CEE2307 (CEE3201) ภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา จำนวน 42 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย โดยใช้โปรแกรม G*power ซึ่งได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการศึกษาความสามารถการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสื่อการจัดการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านเนื้อหา/สาระการเรียนรู้ และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ
ด้านองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัด
การเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้รองลงมา คือ ด้านเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของด้านการจัดการเรียนรู้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเองและกลุ่ม รองลงมา คือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ และนักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

References

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถ การสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฎิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนาธิป พรกุล. (2551). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การวิเคราะห์ และการเขียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณพัฐอร บัวฉุน, นฤมล ยุตาคม และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2559). สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(2), 97-109.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2560). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(1), 111-127.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ประภัสสร วงษ์ดีและเจริญชัย วงศวัฒน์กิจ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 13(2), 157-171.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา (2561). Design thinking: learning by doing. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.

พัชรา วงค์ตาผา. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบ ร่วมกับหลักการสอนแบบทริซเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญา กล้าหาญ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: แอลพีเพรส.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ : Learning management. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์

สำลี รักสุทธี. (2553). การจัดทําสื่อนวัตกรรมและแผนฯประกอบสื่อนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561–2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(1), 31-46.

สุวิทย์ มูลคํา และคณะ. (2551). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำ. (2557). กลยุทธ์...การสอนคิดสังเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อรวรรณ บุราณรักษ์. (2559). การพัฒนารายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผลการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1), 32-49.

เอกชัย ไวยโสภ. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสะท้อนความคิดหลังการทดลองสอนของนักศึกษาหลักสตูรครุศาสตรบัณฑิต. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 31 มีนาคม - 1 เมษายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ambrose, G. & Harris, P. (2009). Basics Design 08: Design Thinking. United Kingdom: AVA Publishing.

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review. 1(1), 84-95.

Brown, T. (2009). Change by Design. New York: Harper Collins Publisher.

Buchanan, R. (1992). Wicked Problems in Design Thinking. Design Issues 8(2), 5-21.

Butta, B. Z., & Rehmanb, K. U. (2010). A study examining student satisfaction in higher education. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2(2), 5446-5450.

Choueiri, L. S., & Mhanna, S. (2013). The Design Process as a Life Skill. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 93: 925-929.

Cross, N. (2006). Designerly Ways of Knowing. London: Springer-Verlag

DEX Space. (2017). Design Thinking คืออะไร (Overview). Retrieved on 25 August 2022 from http://www.dexspace.co/design-thinking-overview/

IDEO Tookit. (2012). Design Thinking for Educators. Retrieved on 20 August 2022 from https://education.uky.edu/nxgla/wp-content/uploads/sites/33/2016/11/Design-Thinking-for-Educators.pdf

Johansson S., U., Woodilla, J., & Çetinkaya, M. (2013). Design Thinking: Past, Present and Possible Futures. Creativity and Innovation Management. 22(2), 121-146.

Krippendorff, K. (2006). Content analysis: An introduction to its Methodology. California: Sage Publication.

Lloyd, P. (2013). Embedded Creativity: Teaching Design Thinking Via Distance Education. International Journal of Technology and Design Education. 23(3), 749-765.

Long, C. (2012). Teach Your Students to Fail Better with Design Thinking. Learning & Leading with Technology. 39(5), 16-20.

Luchs, M. G., Swan, S., & Griffin, A. (2016). Design Thinking: New Product Development Essentials from the PDMA. United States: Wiley-Blackwell.

Nigel Cross. (2006). Designerly Ways of Knowing. DESIGN STUDIES, 3 (4), 221-227, Retrieved from: https://www.makinggood.ac.nz/media/1255/cross_1982_designerlywaysofknowing.pdf

Rapp, K., & Stroup, C. (2016). How Can Organizations Adopt and Measure Design Thinking Process? Cornell University ILR School.

Ray, B. (2012). Design thinking: Lessons for the classroom. Retrieved on 10 January 2023 from https://www.edutopia.org/blog/design-thinking-betty-ray.

Seidel, V. P., & Fixson, S. K. (2013). Adopting design thinking in novice multidisciplinary teams: The application and limits of design methods and reflexive practices. Journal of Product Innovation Management. 30(1), 19-33.

Simon, A. (2009). Understanding the Natural and Artificial Worlds. Design Studies: A Reader. Oxford: Berg.

The Stanford D. school Bootcamp Bootleg. (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. Retrieved on 10 February 2023 from: https://dschoolold.stanford.edu/sandbox/groups/esignresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf

Thorndike, R, M. (1978). Correlation Procedures for Research. New York: Gardner Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

How to Cite

เลิศชนะเดชา ท. (2023). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถ การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 977–996. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.292