การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน เรื่อง เคมีไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ศศิมา นองสุข นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0007-0412-6507
  • พรรณวิไล ดอกไม้ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-2873-0657

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.256

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน;, ความคิดสร้างสรรค์; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การจัดการศึกษาในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การปลูกฝังและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมตามศักยภาพและความถนัด จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงาน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อน และหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน เรื่อง เคมีไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนอนุกูลนารี จำนวน 38 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงาน จำนวน 1 แผน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบอัตนัย จำนวน 5 ชุด และ (3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เคมีไฟฟ้า แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t–test Dependent Sample  ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่องแคล่ว มากที่สุด ลำดับต่อมาคือ ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดละเอียดลออ ตามลำดับ และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2565. Retrieved on 12 March 2023, from: https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1029783

จริยา พิชัยคำ. (2559). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมพัฒนาได้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 2-12.

จารุณี มนปราณีต. (2561). ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยรูปแบบโครงงานเป็นฐานในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จินตนา รุ่งเรือง. (2557). การใช้ชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 4(2), 75-87.

ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล. (2557). การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(86), 352-364.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์

ชูกิจ ลิมปิจำนงค์. (2562). แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2564. Retrieved March 12, 2023, from: https://www.ipst. ac.th/wpcontent/uploads/2020/10/StrategicPlan62-64.pdf

ณัฐกานต์ ภูมิคอนสาร. (2564). ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่หล่นหายไปของผู้เรียนกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Education Journal, 5(1), 1-9.

ดนชนก เบื่อน้อย. (2559). นวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 3(1), 1-12.

ดุษฎี โยเหลา. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2561). คู่มือการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์แก่ผู้เรียน. Retrieved on 1 January 2022, from: http://www.lertchaimaster.com /doc/Learning-Management-Guide-Thinking-Skills.pdf

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิณิดา สุวรรณพรม. (2563). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานและแบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารรำไพพรรณี, 14(3), 52-62.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ภิณโญ วงษ์ทอง และวันชัย น้อยวงค์. (2563). พฤติกรรมบ่งชี้ 4Cs ที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21: การทบทวนวรรณกรรมอย่างกระชับ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 176-186.

โรงเรียนอนุกูลนารี. (2565). ข้อมูลจำนวนนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี. กาฬสินธุ์: โรงเรียนอนุกูลนารี อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง.

ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิต. (2556). ยกระดับครูสังคมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลุฏฟี ดอเลาะ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. Retrieved on 1 January 2022, from: http://www.newonet result.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

สุธินี แจ่มอุทัย. (2559). PBL แรงกระตุ้นและเป้าหมายของการเรียนภาษาอังกฤษ. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสรรค์.

อรสาร จรูญธรรม. (2563). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 7(1), 226-240.

Baron, K. (2010). Six Steps for Planning a Successful Project. Retrieved 20 September 2021, from: https://www.edutopia.org/stw-maine-project-based-learning-six-steps-planning

Best, J.W. (1981). Research in Education. 4th edition. New Jersey: Prentice Hall.

Guilford, J.P. (1969). Fundamental Statistics in Psychology and Education. New York: McGraw-Hill.

Hallman, & Ralph J. (1971). “Techniques of Creation Techniques of Creative Teaching” Teaching Creation Thinking. New York: Holt, Rinehart, and Winston.

Klopfer, L.E. (1971). Evaluation of Learning in Science. New York: McGraw-Hill.

Putri, N.L.P.N.S., Artini, L. P., & Nitiasih, P.K. (2017). Project-Based Learning Activities and EFL Students' Productive Skills in English. Journal of Language Teaching and Research, 8(6), 1147-1155.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12

How to Cite

นองสุข ศ. ., & ดอกไม้ พ. . (2023). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงาน เรื่อง เคมีไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 315–332. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.256