การจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • สุธีธิดา นิลบรรพต นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0008-3360-4480
  • พรรณวิไล ดอกไม้ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-2873-0657

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.250

คำสำคัญ:

ไมโครเลิร์นนิ่ง;, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมืองในศตวรรษที่ 21 นั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพของแต่ละประเทศ ซึ่งการออกแบบและการจัด การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัด การเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง และ (3) เพื่อศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม กลุ่มเป้าหมายการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมเป็น 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จำนวน 6 แผน รวมเป็น 12 ชั่วโมง (2) แบบทดวัดสอบสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  ผลการวิจัยพบว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม หลังการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขวัญชนก พุทธจันทร์. (2563). การเรียนรู้แบบ Micro-Learning. Retrieved on 20 December 2022, from: https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/covid-19/1041-microlearning

เขียน วันทนียตระกูล. (2553). แรงจูงใจมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างไร. Retrieved on 20 December 2022, from: http://www.lanna.mbu.ac.th/artilces/Intrinsic_Kh.asp

ชัยศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พันธุกรรม ด้วยไมโครเลิร์นนิง สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 137–147.

ดลฤดี ไชยศิริ. (2563). การส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแนวคิดเกมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปิยะพงษ์ ธรรมรักษ์. (2563). การพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบ ไมโครเลิร์นนิ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ผกาวัลย์ นามนัย. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายและการดำเนินชีวิตและพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โมลี สุทธิโมลิโพธิ. (2563). ลักษณะของบุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(2), 12-17.

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร้อยเอ็ด. (2565). ข้อมูลสถิติจำนวนนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร้อยเอ็ด.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน : O-NET. Retrieved on 20 December 2022, from: http://www.newonetresult.niets.or.th/Announcement Web/Notice/FrBasicStat.aspx

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2563). ศิลปะการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ Micro Learning. วารสารธรรมนิติ HR Society Magazine, 18(205), 29-33.

Javorcik, T., & Polasek, R. (2019). Comparing the Effectiveness of Microlearning and eLearning Courses in the Education of Future Teachers. 17th International Conference on Emerging eLearning Technologies and Applications (ICETA), Starý Smokovec, Slovakia, 2019, pp. 309-314, doi: 10.1109/ICETA48886.2019.9040034.

Mohammed, G., Wakil, K., & Nawroly, S. (2018). The Effectiveness of Microlearning to Improve Students’ Learning Ability. International Journal of Educational Research Review, 3(3), 32-38.

Singh, N., & Banathia, M. (2019). Micro-Learning: A new dimension to learning. International Journal of Scientific and Technical Advancements, 5(1), 141–144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-11

How to Cite

นิลบรรพต ส. ., & ดอกไม้ พ. . (2023). การจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 219–234. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.250