การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.244คำสำคัญ:
แบบวัด; , การคิดเชิงคณิตศาสตร์; , มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การคิดเชิงคณิตศาสตร์และการใช้การคิดเชิงคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา เป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษาดังนั้นสถานศึกษาและครูผู้สอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนไปพร้อมๆกันกับความรู้ตามเนื้อหาและการวัดผลประเมินผล โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้สื่อสาร นำเสนอความคิด วิเคราะห์และตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างแบบวัดการคิดเชิงคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการคิดเชิงคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 90 โดยใช้วิธีสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-stage Random Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน ความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบวัดการคิดเชิงคณิตศาสตร์มีข้อสอบจำนวน 6 ข้อซึ่งเป็นข้อสอบอัตนัยลักษณะสถานการณ์โดยในแต่ละสถานการณ์ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่การแก้ปัญหา การให้เหตุผล และ การนำเสนอตัวแทนความคิด (2) คุณภาพของแบบวัดการคิดเชิงคณิตศาสตร์พบว่ามีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.6-1.00 ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินมีค่าตั้งแต่ 0.75-0.88 ความยากมีค่าตั้งแต่ 0.40-0.76 อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.46-0.78 ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
กฤษณา คิดดี. (2550). การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2552). การวางแผนการวัดและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารและการจัดการการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี.
คฑาไชย ทักษ์สิทธา. (2560).การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบด้วยการแนะแนวทาง เรื่อง การประยุกต์ตรีโกณมิติ ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12 (36), 97-112.
ฉัตรศิริ ปิยะพลสิทธิ์. (2548). ทฤษฏีการวัดและการทดสอบ. สงขลา : ภาควิชาการประเมินผลและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ดาราพร หาญกล้า. (2552). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความถนัดทางฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ปาฐกถาศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา พุทธศักราช 2544 ครั้งที่ 16 เรื่อง ศาสตร์การสอนเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2527). การทดสอบแบบอิงเกณฑ์ : เทคนิคและวิธีการ. กรุงเทพฯ โอเดียนสโตร์.
ปัทมา อนันต์. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบ. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปิยพร สีสันต์. (2555). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา) ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
แพรไหม สามารถ. (2556). การพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพสาร วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มิ่ง เทพครเมือง และวาริน ชมตะคุ. (2555). การตรวจสอบความสอดคล้องของผู้ประเมินจากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมคิด เทียรพิสุทธิ์. (2550). การเปรียบเทียบค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความเรียงประยุกต์วิชาคณิตศาสตร์ที่มีวิธีการตรวจและจำนวนผู้ตรวจต่างกัน. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Kriegler Shelley. (2004). Just What is Algebraic Thinking? Arithmetic Teacher, 38, 38-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Itsara Sakaew, Taviga Tungprapa, Surachai Meechan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ