ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติที่มีต่อมโนทัศน์ทางเรขาคณิต เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.263คำสำคัญ:
คอนสตรัคติวิสต์; , กิจกรรมปฏิบัติ; , มโนทัศน์ทางเรขาคณิตบทคัดย่อ
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจาก
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ ความเข้าใจที่ถ่องแท้ซึ่งจะทำให้เกิดการคิด การเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรขาคณิตก็เป็นองค์ประกอบหลักของคณิตศาสตร์ แต่จากการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีมโนทัศน์ทางเรขาคณิตต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางเรขาคณิต เรื่อง รูปสามเหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน โดยแต่ละห้องเรียน
จัดนักเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติ เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน และแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางเรขาคณิต เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับทดสอบหลังเรียน โดยเป็นข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วัดตามองค์ประกอบของมโนทัศน์ทางเรขาคณิตกับสาระการเรียนรู้เรื่อง รูปสามเหลี่ยม จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
การคำนวณ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางและการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า มโนทัศน์ทางเรขาคณิต เรื่อง รูปสามเหลี่ยม โดยเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
โกมล ไพศาล. (2540). การพัฒนาชุดการสอนเรขาคณิตสำหรับครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
นวลศรี ชำนาญกิจ. (2544). การพัฒนาตัวแบบเพื่อสร้างสมรรถภาพการสอนภาพลักษณ์มโนทัศน์ทางเรขาคณิตสำหรับนักศึกษาครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปานทอง กุลนาถศิริ. (2541). การสอนเรขาคณิต ในระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ 2. วารสารสสวท. 26 (102), 3-5.
มาโนช บุญคุ้ม. (2554). การพัฒนาความคิดรวบยอดเรื่อง รูปสี่เหลี่ยม และการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติ โรงเรียนชุมชนบ้านร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วีณา ประชากูล และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). รูปแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตร การสอนและการวิจัย. กรุงเทพฯ : จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ส เจริญการพิมพ์.
สมทรง สุวพานิช. (2553). เรขาคณิต.ศาสตร์มหัศจรรย์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 7 (1), 33-37.
สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2554). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการและแบบอิงโครงงาน. ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: 1-56.
สมศรี คงวงศ์. (2542). การพัฒนากิจกรรมการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ไอเดีย สแควร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สิริวรรณ ตั้งจิตวัฒนะกุล. (2561). รากฐานเรขาคณิต. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2546). คณิตศาสตร์: การสอนและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2558). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม ต่วนเทศ. (2547). ผลการสอนคณิตศาสตร์แบบให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้โดยใช้มูฟที่มีต่อภาพลักษณ์มโนทัศน์ทางเรขาคณิต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Gagné, E. D. (1985). The cognitive psychology of school learning. Boston, MA: Little, Brown and Company.
Kathleen, H. (2005). Hand-on math: Lea Hands-on math: Learning Addition and subtraction Through Manipulative Activities. Trafford Publishing.
Santoro, A. M. (2004). The Academic Value of Hands-on Craft Project in School. New York.
Vinner, S. (1983). “Concept Definition, Concept Image, and the Notion Function”. Journal for Research in Mathematics Education. 20 (4), 356-366.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Natnicha Bunyodom, Songchai Ugsonkid, Wandee Kasemsukpipat

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ