ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.238คำสำคัญ:
ความฉลาดทางวิชาชีพ; , คุณภาพการสอบบัญชี; , ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบทคัดย่อ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลขนาดใหญ่และซอฟท์แวร์อันชาญฉลาด ซึ่งวิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่กำลังเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ส่งผลให้มาตรฐานทางการสอบบัญชีมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงต้องมีการปรับตัว เพิ่มความสามารถให้ตอบโจทย์ความต้องการของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย 4) เพื่อทดสอบผลกระทบของความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย และ 5) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีและคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการสอบบัญชี จำนวนกิจการที่รับตรวจสอบในแต่ละปี จำนวนชั่วโมงที่เข้ารับการฝึกอบรมด้านการสอบบัญชีหรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ตั้ง แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความฉลาดทางวิชาชีพบัญชี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีและคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการสอบบัญชี จำนวนกิจการที่รับตรวจสอบในแต่ละปี และจำนวนชั่วโมงที่เข้ารับการฝึกอบรมด้านการสอบบัญชีหรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ตั้ง พบว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการสอบบัญชี จำนวนกิจการที่รับตรวจสอบในแต่ละปี และจำนวนชั่วโมงที่เข้ารับการฝึกอบรมด้านการสอบบัญชีหรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ตั้งแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีและคุณภาพการสอบบัญชี โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้านรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า1) ความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย 2) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์ผลกระทบของความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย พบว่าความฉลาดทางวิชาชีพบัญชีมีผลกระทบกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยผลเชิงบวกในด้านความฉลาดทางความคิดสร้างสรรค์ ด้านความฉลาดทางวิสัยทัศน์ ด้านความฉลาดทางประสบการณ์ และด้านความฉลาดทางเทคนิคและจริยธรรม ตามลำดับ
References
กะลินทิพย์ ฮกฮิ้น. (2560). ผลกระทบของความคิดสร้างสรรค์ในการสอบบัญชีและความพยายามในการวางแผนการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร. วิทยานิพนธ์บัญชีธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จิราภรณ์ ปะจันทะสี. (2559). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชี มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
ณัฐญา เสียวครบุรี. (2562). ผลกระทบของเทคนิคการตรวจสอบทุจริตที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนิศร์ วินิจสร. (2563). ปรับมุมมองส่องโลกดิจิทัล. Retrieved July 11, 2020 From: http://www.tfac.or.th/Article/Detail/123188.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่17. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2562). แนวโน้มและกระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่สำคัญ. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 80(4), 4-18.
วรพรรณ รัตนทรงธรรม. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความฉลาดทางวิชาชีพของนักบัญชียุคใหม่ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานทางการบัญชี และความสำเร็จทางการบัญชีที่ยั่งยืนของนักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 19(2), 74-88.
วรรณนิภา อุ่นคำ. (2557). ผลกระทบของการปฏิบัติงานสอบบัญชีเชิงรุกที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิไลวรรณ โพนศิริ. (2562). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 127.
ศรัญญา บุญขวัญ. (2560). ผลกระทบของความพยายามในการสอบบัญชีและความเชี่ยวชาญในการสอบบัญชีที่มีต่อผลลัพธ์ในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ. (2562). เครือข่ายสังคม. Retrieved July 4, 2020 From: http://vcharkarn.com/varticle/40698/.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563a). CPA 4.0. Retrieved July 5, 2020 From: http://www.tfac.or.th/Article/Detail/121345.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563b). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ 2556. Retrieved July 4, 2020 From http://www.tfac.or.th/ upload/9414/zquYRn7Iwp.pdf
อุษณา ภัทรมนตรี. (2558). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Sari, N. Z. M., & Susanto, A. (2018). The effect of auditor competency and work experience on information systems Audit quality and supply chain (case study: Indonesian Bank). International Journal of Supply Chain Management, 7(5), 747–750.
The Association of Chartered Certified Accountants: ACCA. (2016). Professional accountants – the future: Drivers of change and future skills. Retrieved April 20, 2020 From: https://www.accaglobal.com/an/en/professional-accountants-the-future-report.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Kuljira Chanlawong, Suwan Wangcharoendate, Varaporn Prempanichnukul

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ