ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทยโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ DACIR สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.270078คำสำคัญ:
กระบวนการเรียนการสอนแบบ DACIR; , พัฒนาการของวรรณคดีไทย; , กิจกรรมการเรียนรู้บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาบุคคลกรในฐานะครูของสาขาวิชาภาษาไทยนั้นจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าประสงค์ของรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทยโดยอาศัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ตั้งคำถามสำคัญกำหนดสมมติฐานในการศึกษามีความสัมพันธ์กับกระบวนการเรียนการสอน DACIR ที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ แยะแยะ และมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ DACIR 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย
ระเบียบวิธีการวิจัย: ตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 60 คน ได้มาจากสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ DACIRแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Context Validity) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัย: 1) กิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ DACIR มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Context Validity) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผล: กิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาวรรณคดีไทยที่ใช้วิธี DACIR มีความเหมาะสมทางเนื้อหาสูงสุดและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูง เป็นที่พึงพอใจสูงสุดในภาพรวมของผู้เรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ
ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ฤทธิ์ ศักดิ์แสน. (2560). ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อการเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์และเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทีฆกุล คำงาม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR ที่มีต่อการเรียนรู้มโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันทญ์ณภัค พรมมา. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ภูวดล วิริยะ. (2561). การนำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนเหตุการณ์โลกในยุคปัจจุบันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุทธศิลป์ แปลนนาค. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการตั้งคำถามสำคัญทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). ความรู้ทั่วไปทางภาษาและวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2562. (2563). สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อิ่มจิตร หมวดแร่, สุนทร อ่อนฤทธิ์ และชัยรัตน์ โตศิลา. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้อาเซียนศึกษาโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 13(3), 1-16.
Drake, F. D., and Brown, S. D. (2003). A Systematic Approach to Improve Students' Historical Thinking. History Teacher, 34, 4-29.
Meredith, M. (2015). Current Events in the Classroom: A Collection of Case Studies on the Why and How of Using the News to Teach Curriculum. Master Thesis, Faculty of Education, University of Toronto.
Moore, K. (2015). Keeping Current: Media Literacy Education as a Tool for Critically Examining Current Events in a High School Government Classroom. Master Thesis, Faculty of Education, University of Mary Washington.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Assistant Professor Chanitta Chotchuang

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ