การคิดเชิงระบบกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ หาญกุดตุ้ม คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://orcid.org/0009-0002-8942-6915
  • สมภารธัชธรณ์ ศิโลศรีไช คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://orcid.org/0009-0006-2603-9888
  • ประชัน คะเนวัน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://orcid.org/0009-0004-0847-1197

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.209

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน; , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก; , การประเมินผลทางเลือกใหม่

บทคัดย่อ

ปัจจุบันวงการศึกษาไทยให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการเรียนการสอนทักษะการคิด จะเห็นได้จากนโยบายการศึกษาที่ที่มุ่งเน้นไปที่ทักษะการคิด เน้นกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การคิดเชิงระบบ (System Thinking) เป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 โลกยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต เป็นโลกที่เทคโนโลยีได้รับการพัฒนามากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบ (System Thinking) จึงมีความจำเป็นสำหรับการศึกษาของโลกศตวรรษที่ 21 จึงควรหาวิธีการสอนที่สามารถส่งเสริมวิธีการเรียนรู้กระบวนการคิดของผู้เรียน และทักษะเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะพัฒนาผู้เรียนไปสู่ทักษะการคิดเชิงระบบ การใช้คำถามเป็นฐานในการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการเรียนรู้จะต้องกระตุ้นให้สมองได้ทำงานและฝึกฝนตลอดเวลา การใช้ความคิด การวิเคราะห์ การจดจำข้อมูล และการเชื่อมโยงกระแสประสาท จะทำให้เพิ่มความสามารถของสมองให้พัฒนามากขึ้น กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานไปสู่ทักษะการคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสร้างคำถาม (Create Question) ขั้นตอนที่ 2 คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสงสัยและค้นหาคำตอบ (Question to curiousness) ขั้นตอนที่ 3 คำถามเพื่อการสนทนา (Question to conversation) ขั้นตอนที่ 4 คำถามเพื่อการตรวจสอบ (Question to check) ขั้นตอนที่ 5 คำถามเพื่อการสรุป (Question to conclude) และขั้นตอนที่ 6 คำถามเพื่อการต่อยอด (Question to continue)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤติกรณ์ แกมใบ, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์ และชญาภัสร์ สมกระโทก. 2564. ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยฝช้เทคนิคการตั้งคำถามขั้นสูงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13 (3), 175-188.

เกียรติกำจร กุศล และทัศน์ศรี เสมียนเพชร. 2558. ความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8 (3), 127-138.

ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์. (2552). System Thinking: วิธีคิดกระบวนระบบ. กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ไทยออเซท

ณัฐารส ภูคา และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2565). การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ (System Thinking) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18 (2), 1-14.

ไตรรงค์ เจนการ. (2548). การวัดและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: มาร์ค เอ็ม พรินติ้ง.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธวัฒน์ ภูมิรัง และวิทยา ทองดี. 2565. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7 (1), 967-976.

มนตรี แย้มกสิกร. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบของนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รังสินี พูลเพิ่ม จันทนา โปรยเงิน แสงจันทร์ สุนันต๊ะ และนนทิกา พรหมเป็ง. 2561. ประสิทธิภาพผลการเรียนการสอนโดยใช้คำถามเป็นฐานของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19 (3), 126-136.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับบลิเคชั่น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วีรินทร์ภัทร พันพิพิธ, เรขาอรัญวงศ์ และดนุชา สรีวงศ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการคิดเชิงระบบของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. วารสารวิจัยวิชาการ, 4 (4), 179-192.

ศิริวรรณา ภูกองไชย สนิท ตีเมืองซ้าย และประวิทย์ สิมมาทัน. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบบูรณาการโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานออนไลน์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17 (1), 309-321.

สมภารธัชธรณ์ ศิโลศรีไช. (2560). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รหัส 102107, ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สรวงพร กุศลส่ง. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมการรู้คิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 13 (1), 123-138.

แสงรุ้ง พูลสุวรรณ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรบรรณาธิการเพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, L.W., & Krathwohl, D.R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objective, the Classification of Educational Goals-Handbook I: Cognitive Domain. New York: David MacKay Company.

Hoban, G. F. (2010). Teacher learning for educational change. Glasgow. Bell & Bain Ltd.

Nuangchalerm, P., & Chaingam, R., (2018). Asking in the Taxonomy of Educational Objectives. Journal of Educational Administration and Supervisor, Mahasarakham University, 9 (1), 7-12.

Senge, P., (1990). The Fifth Discipline: The Art & Practice of the Learning Organization. Boston. New York: Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-06

How to Cite

หาญกุดตุ้ม จ. ., ศิโลศรีไช ส., & คะเนวัน ป. . (2023). การคิดเชิงระบบกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(4), 587–600. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.209