การพัฒนาหลักสูตรสัมมาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เสริมสร้างการเข้าสู่ระบบตลาดและการพึ่งตนเองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.268035คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตรสัมมาอาชีพ; , ชุมชนเป็นฐาน; , วิสาหกิจชุมชน; , การผลิตผ้าฝ้ายทอมือ; , ระบบตลาด; , การพึ่งตนเองบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การดำเนินงานการเป็นผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาตนเองให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากขึ้นและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าโดยการวิจัยและพัฒนา การใช้นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ และพื้นฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยควบคู่กับก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตได้และขายเป็นในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสัมมาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เสริมสร้างการเข้าสู่ระบบตลาดและการพึ่งตนเองกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (2) ทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตร และ (3) ศึกษาการขยายผลการใช้หลักสูตรสัมมาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เสริมสร้างการเข้าสู่ระบบตลาดและการพึ่งตนเองกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ระเบียบวิธีการวิจัย: การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลนาดูน เพศชายและเพศหญิงรวมจำนวน 650 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาหลักสูตรสัมมาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เสริมสร้างการเข้าสู่ระบบตลาดและการพึ่งตนเองกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ (2) แบบสัมภาษณ์ และ ขั้นตอนที่ 2 การยกร่างหลักสูตร ระยะที่ 2 ทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลการใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชมบ้านหนองโนใต้ ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ ระยะที่ 3 การขยายผลใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านโนนศิลา ตำบลโนนศิลา อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 11 คน เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ได้แก่ หลักสูตร เอกสารประกอบหลักสูตร แบบทดสอบการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ และแบบประเมินการพึ่งตนเองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test (dependent Samples) นำเสนอผลการวิจัยแบบตารางและการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย: (1) การพัฒนาหลักสูตรสัมมาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เสริมสร้างการเข้าสู่ระบบตลาดและการพึ่งตนเองกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาพรวมของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีองค์ประกอบหลักสูตร 10 องค์ประกอบ 8 หน่วยการเรียน เวลาเรียน 20 ชั่วโมงใช้เนื้อหาสัมมาอาชีพ เรื่อง การผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ (2) การทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตร พบว่า 2.1 มีค่าประสิทธิภาพของหลักสูตร E1/E2 เท่ากับ 83.00/82.67 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2.2 ผลการเปรียบเทียบการทดสอบการเรียนรู้ เรื่อง การผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองโนใต้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3 กลุ่มวิสาหกิจชุชมบ้านหนองโนใต้มีระดับการพึ่งตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) การขยายผลการใช้หลักสูตรสัมมาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เสริมสร้างการเข้าสู่ระบบตลาดและการพึ่งตนเองกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนศิลา ตำบลโนนศิลา อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ พบว่า 3.1 มีค่าประสิทธิภาพของหลักสูตร E1/E2 เท่ากับ 84.09/83.03 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3.2 ผลการเปรียบเทียบการทดสอบการเรียนรู้เรื่องการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนศิลาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3.3 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนศิลามีระดับการพึ่งตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก
สรุปผล: การพัฒนาหลักสูตรสัมมาอาชีพในการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติมุ่งเน้นการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างการเข้าสู่ตลาดและการพึ่งตนเอง ผลการทดลองและประเมินผลพบว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพสูงในการส่งเสริมทักษะและการพึ่งตนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในทั้งสองพื้นที่ที่ทดลองใช้
References
ดิษยุทธ์ บัวจูม และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา. Warasan Phuettikammasat, 20(2), 19-36. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/20138
ธวัชชัย พินิจใหม่ และคณะ. (2559). การพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านนาโพธิ์ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 10(3), 70-80. https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1948
นิตยา ทวีชีพ. (2556). ต้นแบบการจัดกิจกรรมฝึกวิชาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 9(3), 31–50. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29252
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2531). การศึกษาเพื่อฟื้นฟูศักยภาพของชุมชน ในเสรี พงศ์พิศ (บรรณาธิการ) ทิศทางหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์,
ประเวศ วะสี. (2555). จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย-จุดเปลี่ยนประเทศไทย”. ในโพสต์ทูเดย์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3463 ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 หน้า 2
ผกาพันธ์ อินต๊ะแก้ว. (2552). รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มโรงเรียนสาธิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2555). การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโครงการจัด การศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
พิสัณฑ์ โบว์สุวรรณ และคณะ. (2565) ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 6 (1), 265-277.
วรนิษฐา คายศ และคณะ. (2564). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเน้นสัมมาอาชีพของครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดห้วยข้าวก่ำวิทยา จังหวัดพะเยา. วารสารครุทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 1 (2), 69-84.
วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอทางเลือกระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11 (3), 179-191.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2543).ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
เสรี พงศ์พิศ และสุภาส จันทร์หงส์. (2548). ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จากัด.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรณิชา ฮวบหิน และคณะ (2564). การพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงห์บุรี. วารสาร ผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 3(3), 43-56.
อุมาพร อ่อนคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างทักษะอาชีพในท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 279-288.
Bobbitt, F. (1918) The Curriculum. Houghton Mifflin Company, Boston.
Davies, I. K. (1971). Instructional Technique. New York: McGraw-Hill.
Harrow, A.J. (1972) A Taxonomy of the Psychomotor Domain: A Guide for Developing Behavioral Objectives. McKay, New York.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-110.
Oliva, P.F. (1992) Developing the Curriculum. 3rd edition. New York: Harper Collins
Perez-Soltero et al. (2019). Knowledge Transfer in Training Processes: Towards an Integrative Evaluation Model. Electronic version of the article published in IUP Journal of Knowledge Management, 17 (1), 7-40.
Saylor, J.G., Alexander, W.M. and Lewis, A.J. (1981) Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. Holt, Rinehart and Winston, New York.
Simpson, E.J. (1972) The Classification of Educational Objectives in the Psychomotor Domain. Gryphon House, Washington DC.
Taba, H. (1974). Curriculum Development: Theory and Practice. 4th edition. New York: Harcourt, Brace & World.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Amaraphon Homduang, Prasopsuk Rittidet, Surakan Junghan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ