การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านเรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.164คำสำคัญ:
มาตราตัวสะกด; , การจัดการเรียนรู้; , การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRCบทคัดย่อ
การอ่านและเขียนสะกดคำที่มีมาตราตัวสะกดของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษายังไม่ดีนัก จะพบว่านักเรียนที่เรียนจบการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้วประสบผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควรเพราะยังอ่านเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ได้และไม่สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านและเขียนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านเรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนเอกปัญญา อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2/2564 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก เรื่อง มาตราตัวสะกด แบบฝึกทักษะการอ่าน เรื่องมาตราตัวสะกด และแบบวัดความสามารถการอ่านคำที่มีตัวสะกด จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบอันดับที่เครื่องหมายของวิลคอกซอน ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน ควรประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ (1.1) ขั้นนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ (1.2) ขั้นเสนอความรู้ใหม่ (1.3) ขั้นฝึกทักษะ (1.4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (1.5) ขั้นสรุปความรู้ โดยใช้แบบฝึกในขั้นที่ 3 (2) การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านเรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 80.10/95.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก มีความสามารถการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จิตตินุวัฒน์ ดรหมั่น. 2556. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการอ่านและความคงทนของคําศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์:. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. 2557. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนเอกปัญญา. (2563). การประชุมฝ่ายวิชาการของโรงเรียนเอกปัญญา อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งที่ 6/2563 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563. กาฬสินธุ์: โรงเรียนเอกปัญญา.
อุทัยวรรณ ปิ่นประชาสรร. 2557. กลวิธีการสอนภาษาไทยให้สนุก. กรุงเทพฯ: อิงค์ออนเปเปอร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Tatcharaporn Nobnom, Anusorn Chanpratak, ไพศาล วรคำ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ