ทัศนคติต่อการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สกลนคร จำกัด
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.42คำสำคัญ:
ทัศนคติ; , การตัดสินใจเลือกใช้บริการ; , สินเชื่อ; , สหกรณ์ออมทรัพย์; , ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการสกลนคร จำกัดบทคัดย่อ
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการสกลนคร จำกัด ให้บริการด้านสินเชื่อจะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับสมาชิกข้าราชการ ที่มีความเดือดร้อนทางด้านการเงินหรือมีความจำเป็นต้องใช้เงิน สหกรณ์ได้เปิดให้สมาชิกที่มีความประสงค์ใช้บริการด้านสินเชื่อ สามารถยื่นเรื่องขอกู้ยืมเงินได้ตามหลักเกณฑ์ของสหกรณ์ การเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการสกลนคร จำกัด ของสมาชิกแต่ละคนอาจมีเหตุผลหรือความต้องการแตกต่างกันออกไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อและระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ (2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการสกลนคร จำกัด จำนวน 282 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนคติต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ พบว่า มีความแตกต่างกันตามระดับการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่มีความแตกต่างกันตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ประสบการณ์การทำงาน และอัตราเงินเดือน และ (3) ปัจจัยทัศนคติด้านการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยด้านบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อได้ร้อยละ 62.60 (R2Adj=.626) ส่วนทัศนคติด้านประสบการณ์ในอดีต ด้านอิทธิพลจากครอบครัวและเพื่อนและด้านเครื่องมือทางการตลาดไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อ
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2558). การส่งเสริมสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสหกรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิตติพัฒน์ รัตนพรวารีสกุล. (2556). ปัจจัยการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการสินเชื่อธุรกิจของลูกค้าธนาคารพาณิชย์สาขาหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ บธ.ม. ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ชมพูนุท คาพุฒ. (2563). ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยจูงใจในการฝากเงินที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการเงินฝากของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขพิษณุโลก จำกัด. รายงานการวิจัย. พิษณุโลก: สาขาวิชาการจัดการประยุกต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์การ Organizational Behavior. กรุงทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภาวรรณ มุสิกสาร. (2563). ปัจจัยที่ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด. รายงานการวิจัยสาขาการเงินและการธนาคาร กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิรันดร์ อ่อนนุ่ม. (2557). คุณภาพการให้บริการของสหกรณ์การเกษตรเมืองอุบลราชธานีจำกัด. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม.. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พรรณราย จิตเจนการ. (2558). สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวงจํากัด. การค้นคว้าแบบอิสระ บธ.ม.. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รุ่งทิพย์ มณเทียร. (2560). ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการให้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์ พนักงานมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำกัด. สารนิพนธ์ บธ.ม.. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
วริศรา แช่มช้อย และ พัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่ศัยกับธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดชลบุรี. 11th National and International Conference on Humanities and Social Sciences 25-26 May 2020, Phranakhon Rajabhat University, Bangkok, Thailand.
วิรัลฐิตา แจ้งเปล่า. (2558). การตัดสินใจในการเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชลบุรี จำกัด. งานนิพนธ์ บธ.ม. ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการสกลนคร จำกัด. (2564). ข้อมูลพื้นฐานสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการสกลนคร. สกลนคร: สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการสกลนคร จำกัด.
สำนักส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2559). แนวทางปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์.
สุดารัตน์ มีด้วง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินสำนักราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อารมย์ กัณหา และพันธ์ศักดิ์ ภูทอง. (2558). การศึกษาผลการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการอุบลราชธานี จำกัด. อุบลราชธานี: สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการอุบลราชธานี.
ฮุสนุล หะยีดาราโอะ. (2558). ความพึงพอใจของสมาชิกต่อผลิตภัณฑ์และการให้บริการของสหกรณ์อิสลาม อิบนูอัฟฟาน จำกัด ในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. สาขาวิชาอิสลามศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ภูริกา ศรีดาแก้ว, ละมัย ร่มเย็น, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ