การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยความพึงพอใจในงานที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญศึกษาทั่วไป

ผู้แต่ง

  • โชคชัย ศรีสุมิ่ง ภาควิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-9403-6439
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ ภาควิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-4381-6128
  • ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์ ภาควิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-4874-2607

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2023.40

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์จำแนกปัจจัย; , ความพึงพอใจในงาน; , ตำแหน่งงานของบุคลากรทางการศึกษา

บทคัดย่อ

ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นความรู้สึกในทางที่ดีของบุคคลที่มีต่อปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่ ซึ่งเกิดจากการที่ได้รับการตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคล สถานศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาปัจจัยที่ก่อให้ให้เกิดความพึงใจในงานของบุคลากร เมื่อบุคลากรพึงพอใจในงานของตนย่อมส่งผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่และส่งผลดีต่อนักเรียนซึ่งถือได้ว่าเป็นผลผลิตสำคัญของสถานศึกษาตลอดจนส่งผลถึงประสิทธิภาพของผลงานที่สถานศึกษาได้ตั้งไว้ บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานและวิเคราะห์จำแนกปัจจัยกลุ่มของความพึงพอใจในงานที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานของบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญศึกษาทั่วไป สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 367 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์จำแนกปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจในงานของกลุ่มผู้สอนและกลุ่มผู้สนับสนุนการสอนปัจจัยสอดคล้องกันคือ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน รองลงมาคือด้านลักษณะงานที่รับผิดชอบ และด้านโอกาสในการก้าวหน้า ตามลำดับ และ 2) การสร้างฟังก์ชันจำแนกปัจจัยความพึงพอใจในงานที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานของบุคลากรทางการศึกษา โดยวิธีวิเคราะห์แบบ Enter พบว่าปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดในฟังก์ชันจำแนกกลุ่มคือด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีค่าเท่ากับ - 0.823 รองลงมาคือด้านโอกาสในการก้าวหน้า มีค่าเท่ากับ 0.705 ด้านลักษณะงานที่รับผิดชอบ มีค่าเท่ากับ 0.587 ด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน มีค่าเท่ากับ 0.524 และด้านบรรยากาศในที่ทำงาน มีค่าเท่ากับ - 0.257 ตามลำดับ โดยปัจจัยทั้ง 5 ด้านนี้ สามารถทำนายสมาชิกของกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 61.58

References

เจนจิราพร รอนไพริน. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) สาขาอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิติมา เสริมวิวัฒน์วงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรบัญชีการเงิน ของบริษัทในกลุ่มปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทาริกา พาเจริญ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี.วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(1), 80-94.

ธนัชพร เฟื่องงามพร. (2559). ปัจจัยด้านงานและสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(3), 131 – 139.

พิชญา หอมหวน และธีรวัฒน์ จันทึก (2561). ความพึงพอในในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 80 -98.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บริบทขององค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 17(1), 83-89.

ภัสราพร แก้วบ้านฝาย และสุมาลี รามนัฏ (2561). อิทธิพลของความผูกพันในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 2(2), 12 – 18.

วัสสิกา รุมาคม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี กับความพึงพอใจในการทำงานของครูผู้สอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 13(2), 115-131.

ศรัณยา ฤกษ์ขำ (2561). อิทธิพลของความพึงพอใจในงานต่อความผูกพันในวิชาชีพครู : กรณีศึกษาครูในระบบการศึกษาภาคบังคับ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 208 -217.

สาริศา เจนเขว้า. (2560). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(1), 200 - 209.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564. สมุทรปราการ: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ.

สิริพร เมฆสุวรรณ. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนปทุมคงคา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรพล สุวรรณแสง. (2553). ปัจจัยการคงอยู่ของครูในโรงเรียนเอกชนในระบบที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อภิสิทธิ์ ศรีพนมพงษ์ และสมหญิง จันทรุไทย. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเครือข่ายบ้านฉาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(3), 101-109.

Adams, J.S. (1965). Inequity in social exchange. Advance in Experimental and Social Phycology, 2, 267-299.

Al Qalhati, N., Karim, A. M., Al Mughairi, B., Al Hilali, K., & Hossain, M. I. (2020). Study on Job Satisfaction among Teachers in Sultanate of Oman. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 10(10), 422-434.

Andrade M.S. et al. (2019). Job Satisfaction and Gender. Journal of Business Diversity, 19(3), 22-40.

Baluyos, G., Rivera, H. & Baluyos, E. (2019). Teachers’ Job Satisfaction and Work Performance. Open Journal of Social Sciences, 7, 206-221.

Chapol Ali (2021). The Correlation Between Job-Hopping Attitude and Turnover Behavior: A Job Satisfaction Perspective in BANGLADESH. International Journal of Business and Management Future, 5(1), 14–26.

Damiran D. et al. (2018). Head Nurse’ Authentic Leadership and Job Satisfaction among Nures in General Hospital, Central Region, Mongolia. Nursing Journal, 45(4), 203 – 216.

Gilmer, B., Von Haller. (1971). Industrial Psychology. New York: McGraw-Hill.

Hackman, J.R. & Oldman, G.R. (1976). Motivation through the design of work: Test of a theory. Organizational Behavior & Human Performance, 16(2), 250–279.

Lan T.N., (2019). Workers` Job Satisfaction in Japanese Companies in Tan Thuan Export Processing Zone in Ho Chi Minh City, Vietnam. KKU International Journal of Humanities and Social Sciences. 9(2), 1-22.

Maslow, A. (1954). Motivation and personality. Harpers.

Ozdem, G. & Sezer, S. (2019). The Relationship between Solution-Focused School Leadership and Organizational Cynicism, Organizational Commitment and Teachers' Job Satisfaction. International Journal of Progressive Education, 15(1), 167-183.

Panigrahi, A.K. (2016). Study of Job Satisfaction and Its Implications for Motivating Employees at Infosys. Strategy – The Journal for Management Development, 14(1), 1–16.

Velmurugan, R. (2016). Job Satisfaction of Teachers. Journal of Research in Humanities and Social Sciences, 1(1), 20 -23.

Tepayakul, R. & Rinthaisong, I., (2018). Job Satisfaction and Employee Engagement among Human Resources Staff of Thai Private Higher Education Institutions. The Journal of Behavioral Science, 13(2), 68-81.

Zoller, K., & Bacskai, K. (2020). Teacher work and job satisfaction among Romanian lower secondary teachers. Central European Journal of Educational Research, 2(2), 93–100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-09

How to Cite

ศรีสุมิ่ง โ. ., ศรีหาเศษ ก. ., & ทิพยกุลไพโรจน์ ด. . (2023). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยความพึงพอใจในงานที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญศึกษาทั่วไป. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(1), 585–596. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.40