การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.86คำสำคัญ:
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ; , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
การพัฒนาและใช้หลักสูตรจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัย การบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับ หลักสูตร รวมทั้งเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ (2) เปรียบเทียบระดับปฏิบัติของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับ มาก และ (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด พบว่า (ก) จำแนกตามสถานะ โดยรวมไม่แตกต่างกัน (ข) จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และ (ค) จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ฉัตรดนัย ศรีสา. (2564). ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทปิยะวัฒนา.
ชนาพร เมฆดี และทัศนะ ศรีปัตตา. (2565). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 160-173.
ธนศักดิ์ เปาริก. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปฏิภาณ ตระการ. (2564). การบริหารและการจัดการหลักสูตรที่สอดคล้องกับการศึกษา 4.0 โรงเรียนบ้านม่วงชุม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
เสาวลักษณ์ ประมาน. (2559). ทักษะกีฬา. พระนครศรีอยุธยา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อติรุจ บุญสูง และไพรภ รัตนชูวงศ์. (2563). แนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาสาหรับโรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(2), 66-70.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิศวะ วัฒนะเลิศโรจน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ