กลยุทธ์การขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียน โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.16คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม; , โครงงานเป็นฐาน; , ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมบทคัดย่อ
ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 การที่ผู้เรียนจะเกิดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมนั้น ครูต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าแสดงศักยภาพในกระบวนการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงสนใจทำงานวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้โครงงานเป็นฐาน และ (2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ นักเรียนโครงการเพชรราชพฤกษ์ จำนวน 85 คน และครู จำนวน 14 คน โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (2) แบบทดสอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน 3) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนที่ประเมินโดยครู (4) คู่มือกลยุทธ์การขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้โครงงานเป็นฐาน และ (5) แบบประเมินผลการใช้คู่มือกลยุทธ์การขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้โครงงานเป็นฐาน มีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า (1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียน ได้แก่ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และ (2) ผลการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้โครงงานเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.48 คะแนน และมีความก้าวหน้าร้อยละ 47.41
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กาญจนา บุญส่ง และคณะ. (2551). การพฒนาตัวบ่งชี้บทบาทความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารศกษาศาสตร์, 19 (2), 45-58.
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การประชุมสัมมนาทางวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. ปัตตานี : ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2552). การสอนทักษะการคิด. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภูวสิษฏ์ บุญศร. (2561). การพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาของโรงเรียนบ้านโป่ง เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กระทรวงศึกษาธิการ.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างจิตนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริอร วิชชาวุธ (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Australian National Training Authority. (2001). Australian National Training Authority (ANTA) agreement for 2001-2004. Brisbane, Queensland: ANTA. Retrieved from: http: //hdl.voced.edu.au/10707/163227.
Bellanca, J., & Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN: Solution Tree.
Dalrymple, K. (2015). An Action Research Study Aimed at Designing and Implementing an Innovative Unit of Instruction Within the Context of Developing Innovative Thinking Skills Among Primary School Students. The University of the West Indies. Retrieved on 28 July 2021 from: http: //uwispace.sta.uwi.edu/dspace/bitstream/handle/2139/41190/Karen%20Dalrymple.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
Drapeau, P. (2014). Sparking student creativity: Practical ways to promote innovative thinking and problem solving. Virginia USA: ASCD.
Lai, C. F., Hwang, R. H., Chen, S. Y., Huang, H. M. and T.T. Wu. (2015). Influence of Integrating Creative Thinking Teaching into Project-based Learning Courses to Engineering College Students. Retrieved on 5 July 2021 from: https: //www.sefi.be/wp-content/uploads/2017/09/56434-CHIN-FENG-LAI.pdf.
Lee, S. K. and Benza, R. (2015). Teaching Innovation Skills: Application of Design Thinking in a Graduate Marketing Course. Business Education Innovation. 7(1), 43-50.
Orlandi, A. E. C. (2010). Experimental experience in design education as a resource for innovative thinking: The case of Bruno Munari. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 2 (2), 5039-504.
Pearlman, B., (2011). ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 [21st Century Skills Rethink How Students Learn] (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Openworlds. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2010). 197-205.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 จิณณ์ณณัช ธาราจิรเศรษฐ์, อัญชนา พานิช

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ