รูปแบบการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์เชิงพุทธของพระสังฆาธิการในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.174คำสำคัญ:
การส่งเสริม; , สาธารณสงเคราะห์; , พระสังฆาธิการ; , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบทคัดย่อ
จากสังคมชนบทไปสู่สังคมออนไลน์ ถึงกระนั้นพระสงฆ์ก็ยังคงมีบทบาทและหน้าที่เช่นเดิมจะมากบ้างหรือน้อยบางประการใดก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงในสังคม รวมถึงการยอมรับการเปลี่ยนแปลงของแต่ละสังคมพระสงฆ์ยังคงมีบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติตนอยู่หลายอย่างเหมือนเดิมเพราะความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ฉะนั้นบทบาทพระสงฆ์กับการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์โควิค-19 จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของพุทธศาสนิกชนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ 3) เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการซึ่งทำการศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาระดับการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นพระสังฆาธิการในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 386 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูล โดยสมการโครงสร้าง (SEM) ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ กลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นักวิชาการ และพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัด และพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะอำเภอ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์ และ ระยะที่ 3 การยืนยันรูปแบบการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ โดยการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า (1) การส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสงเคราะห์ ด้านการพัฒนา ด้านการเกื้อกูล และด้านการบูรณาการ ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการโดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สมรรถนะส่วนบุคคล การหนุ่นเสริมภายนอก สมรรถนะองค์กรคณะสงฆ์ โดยทั้ง 3 ปัจจัยสามารถอธิบายการผันแปรในการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ได้ร้อยละ 48.30 (R2 = 0.483) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งโมเดลความสัมพันธ์ของรูปแบบการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ test p-value = 0.002, X2/df = 1.630, GFI = 0.994, CFI = 0.992, RMSEA = 0.04, SRMR = 0.03 และ (3) รูปแบบการส่งเสริมสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ดังนี้ (ก) การพัฒนาด้านสมรรถนะส่วนบุคคล (ข) การพัฒนาด้านการหนุ่นเสริมภายนอก และ (ค) การพัฒนาด้านสมรรถนะองค์กรคณะสงฆ์
References
พระใบฎีกาสมคิด นาถสีโล, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, และ พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท (2561). บทบาทของพระสังฆาธิการในการช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7 (2), 246-255.
พระครูเมตตามงคลวิศิษฏ์. (2559). การบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 59-68.
พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2558). ระบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยในทศวรรษหน้า. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 2(2),126-139.
พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ) (2563). การจัดการสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2 (1), 383-392.
พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ). (2563). การจัดการสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการกับสภาพการณ์ปัจจุบัน. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2),434.
พระครูวิโรจน์อินทคุณ (เอกชัย อินฺทโชโต). (2563). การพัฒนาสมรรถนะเจ้าอาวาสตามหลักพุทธธรรม เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดจันทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3). 244-257.
พระครูสุธีจริยวัฒน์. (2562). บทบาทของพระสงฆ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 2(1), 1-8.
พระบุญทอด สีนวนนา. (2559). ประสิทธิผลการบริหารจัดการของพระวินยาธิการเพื่อความยั่งยืนของคณะสงฆ์ภาค 9. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 22(1), 61-69.
พระมหาชุติภัค อภินนฺโท และรัตติยา เหนืออำนาจ. (2562). การจัดการเครือข่ายวัฒนธรรมเชิงพุทธของคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียน. วารสารวิจยวิชาการ, 2(3), 1-18.
พระมหาวิวัต ฌาเนสโก (ศิริรัตน์) และคณะ. (2564). การพัฒนาเครือข่ายการบริหารงานของคณะสงฆ์ไทยในทวีปยุโรป. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 336-351.
พระมหาวิศิต ธีรวํโส. (2562). การพัฒนาสมรรถนะของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(1), 161-169.
พระมหาสันติ ฐานวโร. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในงานสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชรัตนเวที (ประเสริฐ โชติธมฺโม). (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารจัดการของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 4. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2(6), 523-537.
พระสมุห์วศิน วิสุทฺโธ (พงษ์ศักดิ์) (2563). พระสงฆ์การจัดการงานสาธารณสงเคราะห์: บทบาทและความสำคัญ. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2 (1), 357-366.
พินิจ ลาภธนานนท์ สายชล ปัญญชิต และภูเบศ วณิชชานนท์. (2564). สังคมวิทยาของพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม: บทวิเคราะห์ว่าด้วยงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 25-37.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2562). อดีต ปัจจุบัน และอนาคตงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2563). ถอดบทเรียนงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิรญาณ์ แสงปัญญา และพินิจ ลาภธนานนท์. (2564). พุทธศาสนาเพื่อสังคม: บทบาทพระสงฆ์ด้านงานสาธารณสงเคราะห์ กรณีศึกษาพระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กลฺยาโณ) วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศ์, 8(3), 288-302.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทโธ, ยุภาพร ยุภาศ, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ