แนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ปัญญ์ชิตา สมบัติเพิ่ม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-5981-9868
  • จำเนียร พลหาญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-7560-5173

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.171

คำสำคัญ:

แนวทาง;, ความปลอดภัยใสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาก่อให้เกิดการพัฒนาในทุก ๆ ด้านของชุมชนสังคมประเทศชาติเพราะฉะนั้นการจัดการศึกษาที่จะสามารถที่พัฒนามนุษย์ให้มีศักยภาพ คือคุณภาพการศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่จะสะท้อนประสิทธิภาพของสถาบันการศึกษาในการจัดการศึกษา การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานการจัดมาตรการสถานศึกษาปลอดภัย แก่นักเรียนของสถานศึกษา (2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน สถานศึกษาปลอดภัย แก่นักเรียนของสถานศึกษา โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานการจัดมาตรการสถานศึกษาปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนที่รับผิดชอบงาน สถานศึกษาปลอดภัย จำนวน 1 คน ครูที่รับผิดชอบงานสถานศึกษาปลอดภัย จำนวน 1 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 คน ประธานสภานักเรียน จำนวน 1 คน ของแต่ละสถานศึกษารวมสถานศึกษาละ 4 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 55 โรง รวมจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80–1.00 มีค่าอำนาจจำแนก 0.31–0.88 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการดำเนินงานการจัดมาตรการสถานศึกษาแก่นักเรียนของสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาความปลอดภัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการศึกษาแนวทางการดำเนินงานการจัดมาตรการสถานศึกษาปลอดภัยแก่นักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีแนวทางดำเนินงาน 4 ข้อ 2) ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมมีแนวทางดำเนินงาน 7 ข้อ 3) ด้านการจัดบริการความปลอดภัยมีแนวทางดำเนินงาน 3 ข้อ และ 4) ด้านสวัสดิศึกษามีแนวทางดำเนินงาน 4 ข้อ

References

กฤษฎา ศรีสุชาติ จําเนียร พลหาญ และสมชาย วงศ์เกษม. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคู่มือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ว.มรม. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (3), 259-272.

ชนกานต์ สกุลแถว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการเคมีของนักเรียนชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์สาธณะสุขศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติมา แก้วคำแสง. (2559). ความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ สําเริง อ่อนสัมพันธุ์, ยุวรี ผลพันธิน, พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2555). การพัฒนาระบบการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1), 174-197.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นิฤมล วงค์อินพ่อ และ สถิรพร เชาวน์ชัย. (2565). การศึกษาสภาและแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วารสาร Journal of Roi Kaensarn. 7 (8), 306-321.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปราณี อินทรักษา. (2554). การศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรา ก้อยชูสกุล และคณะ. (2559). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2532). นโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรัณยา บุญประกอบ. (2549). การศึกษาการจัดบริการความปลอดภัยในโรงเรียนอนุบาลเอกชน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริพรรณ เกตุแก้ว. (2558). การดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมของโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุชีรา ใจหวัง. (2560). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวณีย์ ศรีวะรมย์ ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร และ ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2555). สภาพและปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2 (2), 68-75.

อินทิรา บริบูรณ์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน . สารนิพนธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Chinekesh, A. (2017). Exploring the youth experience about sense of social security: a qualitative study. Electronic Physician, 9 (12), 6019-6020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22

How to Cite

สมบัติเพิ่ม ป. ., & พลหาญ จ. . (2022). แนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 687–708. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.171