จิตวิทยาการกีฬาสำหรับผู้ตัดสินฟุตบอลไทยลีกภาคตะวันออกเฉียงเหนื
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.158คำสำคัญ:
จิตวิทยาการกีฬา; , ผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลไทยลีกบทคัดย่อ
ความคิดจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกของผู้ตัดสินฟุตบอลไทยลีกล้วนส่งผลต่อความสามารถทางร่างกายและความสามารถทางเทคนิคของผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลไทยลีกและในทางกลับกันความสามารถทางร่างกายและความสามารถทางเทคนิคส่งผลต่อความคิดแรงจูงใจและความมั่นใจในตนเองการตระหนักรู้ในตนเองและการประเมินตนเองในแต่ละเกมที่ลงปฏิบัติหน้าที่ตัดสินการแข่งขันกีฬาฟุตบอลไทยลีกก็เช่นเดียวกันในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในกีฬาฟุตบอลและแสวงหาความเป็นเลิศต่างก็เห็นความสำคัญของจิตวิทยาการกีฬาเพราะมีผลอย่างมากต่อการตัดสินเกมการแข่งขันและยังนำไปสู่การควบคุมอารมณ์และประสบการณ์การบังคับจิตใจที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันกับอุปสรรคที่มีการแข่งขันสูงกดดันมากด้วยเหตุนี้จิตวิทยาการกีฬาจึงมีความสำคัญมากต่อผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลไทยลีก บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะและให้ความรู้ทางด้านจิตวิทยาการกีฬาสำหรับผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลไทยลีกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำฤดูกาล 2022 – 2023 โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ ภาวะความตึงเครียด ภาวะความกดดัน และการสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง และการควบคุมอารมณ์ของผู้ตัดสินในสนามแข่งขันร่วมทั้งหลักการเทคนิคการใช้จิตวิทยาการกีฬากับนักกีฬาและผู้ฝึกสอนในสนามแข่งขัน ดังนั้นจิตวิทยาการกีฬาเป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีผลต่อสมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้บริหารสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ สามารถนำเอาศาสตร์นี้ไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลไทยลีกได้อย่างเต็มสมบูรณ์ร่วมไปกับการพัฒนาความสมบูรณ์พร้อมทางสมรรถภาพร่างกายจะนำไปสู่ความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลสามารปฏิบัติหน้าที่ในสนามได้อย่างมีประสิทธิภาพมีสมาธิและไม่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ที่มารบกวนต่อการทำหน้าที่ให้ได้มาซึ่งความเป็นเลิศในการตัดสินกีฬาฟุตบอลอย่างยุติธรรมเที่ยงตรงตามจุดประสงค์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
References
จรินทร์ ธานีรัตน์. (2512). ประวัติหลักการพลศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ถนอมวงศ์กฤษณ์เพ็ชร์. (2536). แนวคิดและทิศทางของวิทยศาสตร์การกีฬาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร. (2536). ประวัติและพัฒนาการจิตวิทยาการกีฬาในต่างประเทศ. เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาจิตวิทยาการกีฬา.
ประนมพร จ๋วงพานิช. (2548). จิตวิทยาการกีฬา ใน วิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีเดีย เพลส
รณชัย คงสกนธ์. (2557). จิตวิทยาการกีฬา ความจำเป็นในปัจจุบัน. วารสาร Bangkok Health Research Center, 6 กุมภาพันธ์ 2557.
สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย. (2542). จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สืบสาย บุญวีรบตร. (2536). จิตวิทยาการกีฬากับโค้ช. เอกสารการสัมมนาผู้สอนจิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี : วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชลบุรี.
Baumeister, Roy F., Vohs, Kathleen D., & Tice, Dianne M. (2007). The Strength Model of Self-Control. Current Directions in Psychological Science.16 (6), Doi: https://doi.org/10.1111/j.1467-8721.2007.00534.x
Baumeister, R. F., Bratslavsky, E., Muraven, M., & Tice, D. M. (1998). Ego depletion: Is the active self a limited resource? Journal of Personality and Social Psychology, 74(5), 1252–1265. https://doi.org/10.1037/0022-3514.74.5.1252
Cox, R. H. (1990). Sport Psychology Concepts and Application. 2nd edition. New York: McGraw-Hill.
Joao Aragao e Pina. (2021). Self-efficacy, mental models and team adaptation: A first approach on football and futsal refereeing. Journal of Psychology of Sport & Exercise. 52 (2021), 101787, Doi: 10.1016/j.psychsport.2020.101787
Roy David Samuela. (2018). Hi ref, are you in control? Self-control, ego-depletion, and performance in soccer referees. Journal of Psychology of Sport & Exercise 38 (2018) 167-175, DOI: https://doi.org/10.1016/j.psychsport.2018.06.009
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Sarstrawit Wongbutleewatthana

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ