ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของเล่นเด็กของผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.155คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ;, ส่วนประสมทางการตลาด; , ของเล่นเด็กบทคัดย่อ
ปัจจุบัน สินค้าที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นของเล่นของใช้เด็กนั้นมีแบรนด์ คุณภาพและราคาที่หลากหลาย เรียกได้ว่ามีผู้ผลิตออกมาสำหรับทุกกลุ่มประชากร แต่ด้วยธรรมชาติของมนุษย์จะส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบุตร หรือบุตรหลานของตนเองเสมอ การเลือกของเล่นของใช้เด็กให้กับบุตรและบุตรหลานสำหรับประชากรที่มีกำลังซื้อนั้น จะเป็นการคัดเลือกสินค้าคุณภาพดี แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อของเล่นเด็กและเพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อของเล่นเด็กของผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ในเขตอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ที่เคยซื้อของเล่นเด็ก จำนวน 372 ราย และทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี สถานภาพแต่งงาน/สมรส มีการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว และมีบุตร 1 คน เป็นผู้ซื้อของเล่นด้วยตนเอง ซื้อของเล่นประเภทรถบังคับ/ของเล่นใส่ถ่าน/หุ่นยนต์ ซื้อให้ลูก/หลาน/คนรู้จัก ซื้อของเล่นเด็กไม่แน่นอน ลูกมีอิทธิในการเลือกซื้อของเล่นเด็ก ซื้อของเล่น หลังเวลา 14.00 น.เป็นต้นไป มีค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งต่ำกว่าหรือเท่ากับ 500 บาท ทราบข้อมูลร้านขายของเล่นเด็ก จาก เพื่อน/คนรู้จัก สำหรับการศึกษาระดับความสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของเล่นเด็กของผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25
References
คุณากร ศันสนียกลวิไล. (2562). พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของแบรนด์น่ารัก. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชนา นงเยาว์. (2564). สินค้าของเล่น. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ,
ณัฏฐพร ศุภสรรพตระกูล. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าเด็กในกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 มิถุนายน 2561. กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ณัฐวุฒิ ฉัตรเฉลิมวิทย์และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจรับชมภาพยนตร์และซื้อของเล่นจากภาพยนตร์โทคุซัทสึแนวคาเมนไรเดอร์ในประเทศไทย. Journal of Business Administration and Languages. 9(2), 43-54.
บริพัตร บุญนาค (2561) พฤติกรรมการซื้อของเล่นของลูกค้าในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พงศ์ศิริ คำขันแก้ว. (2560). องค์ประกอบการบริหารแบรนด์เชิงกลยุทธ์สําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย: หลักฐานเชิงประจักษ์ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน. วารสารปาริชาต, 30(3), 164 - 175.
รัตนาภรณ์ มาสแสง (2562) กลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เด็กประเภทผ้าอ้อมสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางในการบริหารส่งเสริมพัฒนาการระดับประถมศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2564). จำนวนประชากรปี 2564 จังหวัดเชียงใหม่ แยกรายอายุ ชายหญิง และแบ่งรายอำเภอ. [Online] https://catalog.citydata.in.th/dataset/chiangmai-population-2021 [17 มิถุนายน 2565]
อมลวรรณ ศรีทอง. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสำหรับแม่ลูกอ่อนและเด็กทารก ในพื้นที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Amsriwiang, W., Thanitbenjasith, P., & Sanpatanon, N. . (2022). Behavior and Marketing Factors Affecting the Purchase Selection of Football Footwear Products of People in Muang District, Chiang Mai Province. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), 529–540. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.111
Bhrammanachote, W. (2022). Brand Building and Packaging Strategy for Strawberry Products to Increase Market Value: Case Study of Pong Yaeng Nok, Maerim district, Chiang Mai Province. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(4), 651–664. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.81
Kamkankaew, P., Phattarowas, V., Khumwongpin, S., Limpiaongkhanan, P., & Sribenjachot, S. (2022). Increasing Competitive Environment Dynamics and the Need of Hyper-Competition for Businesses. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 2(5), 9–20. https://doi.org/10.14456/jsasr.2022.36
Rianpreecha, C. ., Bunyaboon, A. ., Tongpae, S. ., & Chaiyawan, W. . (2022). Factors Related to Buying Behavior of Eco-cars of Consumers in Laem Chabang, Chonburi Province. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(4), 389–404. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.65
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ภัทรวลัญช์ เตชะนฤดล, พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ