ผลการจัดกิจกรรมการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้สื่อการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่อง การอ่านสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำใปใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://orcid.org/0000-0001-7492-5012
  • ศศศิริ สุวรรณทิพย์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://orcid.org/0000-0003-3131-0450

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.162

คำสำคัญ:

วิชาภาษาไทย; , การอ่านจับใจความสำคัญ; , นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การอ่านเป็นทักษะสำคัญต่อการพัฒนาความคิดและสติปัญญาประการหนึ่ง สื่อการอ่านเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะดังกล่าวดีขึ้นจึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยรวมถึงภาษาต่างประเทศอื่นๆ ในส่วนที่สัมพันธ์กับการพัฒนาความคิด การวิจัยครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ผลการจัดกิจกรรมการสอนวิชาภาษาไทย และเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้สอนเรื่อง การอ่านสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำใปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้สื่อฉลากสินค้าและยา “ยาแก้ปวด นม ขนม” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือการวิจัยคือแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนของนักเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของครู โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะจง จากโรงเรียนที่มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลท่าช้าง โรงเรียนไทรงามเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนบ้านโนนตาวิทย์ โรงเรียนพิมานประชาสันต์ และโรงเรียนเพชรมาตุคลา ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนแบบทดสอบค่าเฉลี่ย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 1) โรงเรียนอนุบาลท่าช้าง ก่อนเรียน 6.24 หลังเรียน 8.96 2) โรงเรียนไทรงามเฉลิมพระเกียรติ ก่อนเรียน 5.5 หลังเรียน 9 3) โรงเรียนบ้านโนนตาวิทย์ ก่อนเรียนมี 5.43 หลังเรียน 8 4) โรงเรียนพิมานประชาสันต์ ก่อนเรียน 5.5 หลังเรียน 7.88 5) โรงเรียนเพชรมาตุคลา ก่อนเรียน 6.64 หลังเรียน 9.21 ส่วนความพึงพอใจของผู้สอนที่มีต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 4.24 ด้านสื่อการเรียนการสอนพบว่ามีค่าเฉลี่ย 4.52 ด้านประโยชน์ที่ได้รับพบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.96 ประโยชน์จากการทำวิจัยครั้งนี้สามารถสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการอ่านสรุปความรู้และข้อคิดที่ได้จากเรื่องที่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

References

ไกรษร ประดับเพชร. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ปิยะวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82ก วันที่ 13 ตุลาคม 2561.

วรพจน์ นวลสกุล. (2551). เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร การตัดต่อวีดิทัศน์ระบบนอนลิเนียร์ รุ่นที่ 9 “การบูรณาการวีดิทัศน์กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น” ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิภาพร ทองฟู. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน สามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เสวภา ช่วยแก้ว. (2558). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWLH PLUS. Veridian E-Journal Silpakorn University. 8 (2), 1-16.

อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 1ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA. Veridian E-Journal Slipakorn University. 8 (3), 864-879.

Tk parkออนไลน์. (2562). อ่านมากขึ้น อ่านไม่ออก และการรู้หนังสือ. [Online] https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/408/อ่านมากขึ้น-อ่านไม่ออก-และการรู้หนังสือ [1 พฤศจิกายน 2564]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-09

How to Cite

นิรันดร์เตชาภัทร์ ว. ., & สุวรรณทิพย์ ศ. . (2022). ผลการจัดกิจกรรมการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้สื่อการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่อง การอ่านสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อนำใปใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 535–552. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.162