นวัตกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.153คำสำคัญ:
นวัตกรรมการบริหารจัดการ; , โรงพยาบาลสนาม; , วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
จากการที่ผู้ป่วยมีสภาพอารมณ์ที่ฉุนเฉียว ใจร้อนหรือในบางครั้งอาจระเบิดอารมณ์ใส่ทีมผู้ดูแลที่ดำเนินการไม่ได้ดั่งใจปารถนา หรือในบางกรณี เช่น เมื่อผู้ป่วยที่รักษาตัวหายจากอาการป่วยแล้วไม่ได้รับการต้อนรับจากชุมชนหรือครอบครัว ดังนั้น คณะผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการศึกษาถึงการบริหารจัดการในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 และเห็นเน้นย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาถึงวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเชิงวิชาการ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษานวัตกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (2) เพื่อทดลองใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด และ (3) เพื่อประเมินนวัตกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการค้นหารูปแบบนรูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม มาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน และการประเมินนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทั้งเชิงพรรณา สถิติเชิงอนุมานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดได้วางกรอบแนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม ดังนี้ สภาพแวดล้อม หลักการบริหาร การพัฒนาจิตใจ และ การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ (2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม พบว่า นวัตกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประกอบด้วย การที่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของโรงพยาบาลสนามต้องสร้างนวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยด้วยแนวทางการบูรณาการเอาหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาในหลายหลักธรรมนำไปบูรณาการร่วมกับการรักษาพยาบาล โดยเน้นหนักไปที่การพัฒนาจิตใจและการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ หรือการสร้างภิคุ้มกันทางจิตตใจภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรักษาพยาบาลอันจะส่งผลต่อรูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดอย่างมีประสิทธิภาพ (3) ส่วนผลการประเมินนวัตกรรมโดยสรุปนวัตกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมระดับมากที่สุด
References
ธีรพร สถิรอังกูรและคณะ. “การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด–19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข”. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30 (2), 320-333.
แพทยสภา. (2564). COVID-19 คืออะไร มารู้จักโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ที่ทำลายปอดได้. [Online] https://covid-19.kapook.com/view221519.html [10 สิงหาาคม 2564]
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิยาลัยมหิดล. (2564). โควิด-19 คืออะไร?. [Online]https://www.gj.mahidol.ac.th/main/covid19/covid19is/ [ 10 สิงหาคม 2564]
สยามรัฐ. (2564). จังหวัดร้อยเอ็ด เปิด รพ.สนาม และCommunity Isolation
,155 เตียง รับมือโควิดระบาด. สยามรัฐออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2564 [Online] https://siamrath.co.th/n/265088 [10 สิงหาคม 2564]
สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. (2563). รูปแบบนวัตกรรมบริการโดยประยุกต์แนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่โดยการวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ ในเขตสุขภาพ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29 (2), 332-343.
อุษา คำประสิทธิ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลโนนไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16 (1), 30-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Pikul Meemana

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ