แนวทางการพัฒนามาตรฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.154คำสำคัญ:
มาตรฐานการใช้เทคโนโลยี; , เทคโนโลยีของผู้บริหาร; , มาตรฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารบทคัดย่อ
เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและครอบคลุม ทั่วถึง คนทุกช่วงวัยทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยมีแนวทาง พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีความยึดหยุ่น หลากหลาย ดังนั้นความจำเป็นของผู้บริหารโรงเรียนต้อง มีมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนามาตรฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.62-0.85 ค่าอำนาจจำแนกสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.50-0.85 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรฐานการใช้เทคโนโลยี จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ โดยใช้สถิต ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของมาตรฐานการใช้เทคโนโลยี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นคือ วางแผนกำหนดวิสัยทัศน์ การออกแบบเชิงระบบ การเป็นผู้นำที่เสริมสร้างศักยภาพ การเรียนรู้ร่วมกัน การสนับสนุนความเสมอภาคและการเป็นพลเมือง ตามลำดับ (2) แนวทางในการพัฒนามาตรฐานการใช้เทคโนโลยี คือคู่มือในการพัฒนามีส่วนประกอบ ดังนี้ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา การวัดและประเมินผล ผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กัลยวรรธน์ ตะเภาทอง. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. Journal of Modern Learning Development. 7 (2),41-52.
ชัญญาภัค ใยดี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 8 (1),150-164.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563).ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation. 6 (4), 137-149.
ธีรโชติ หล่ายโท้. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีและทักษะด้าน การเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุตรดิตถ์ เขต 2 ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น. 76-77).พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116. ตอนที่ 74 ก.
สท้าน วารี. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11 (1), 120-129.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). ทิศทางและแนวการเนินงานเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. [Online] https://www.ses26.go.th/?page_id=69.[25 สิงหาคม 2565].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561).มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ.2561.นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานเลขานุการกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563-2565. [Online] https://www.nstda.or.th/library/opac/Book/49534?c=22135664 [26สิงหาคม 2565].
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
International Society for Technology in Education. (2018). Technology Standards for School Administrators. [Online] https://www.iste.org/standards/iste-standards-for-education-leaders. [26สิงหาคม 2565].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Kittiwat A-no, Chayakan Ruangsuwan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ