แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มเครือข่ายที่ 9
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.150คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา; , บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา; , การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาบทคัดย่อ
บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารในการเป็นผู้นำองค์กร เพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา โดยมีกระบวนการบริหารที่เป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ผ่านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่ได้มาเกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสูงสุด โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ของบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ของบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 – 0.73 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับน้อย และมากที่สุด ตามลำดับ และเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยของบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจากค่า PNI คือ การกำหนดนโยบายและแผนงาน การกำหนดทรัพยากรที่ต้องการจากนโยบายและแผนงาน การติดตามนิเทศประเมินผลการใช้ทรัพยากร การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ การจัดสรรทรัพยากร และการแสวงหาทรัพยากร ตามลำดับ (2) แนวทางพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา คือ โปรแกรมพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มีดังนี้ โมดูล 1 ด้านการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ โมดูล 2 ด้านการกำหนดนโยบายและแผนงาน และการกำหนดทรัพยากรที่ต้องการจากนโยบายและแผนงาน โมดูล 3 ด้านการแสวงหาทรัพยากรและการจัดสรรทรัพยากร และโมดูล 4 ด้านการติดตามนิเทศประเมินผลการใช้ทรัพยากร ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และมากที่สุดตามลำดับ และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเข้าใจบริบทและบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา และนำมาวางแผนกำหนดนโยบายและแผนงานของสถานศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ด้วยกระบวนการ PDCA มีการสำรวจความพร้อมและระบุความต้องการใช้ทรัพยากรให้ตรงกับโครงการ มีการติดตามนิเทศและประเมินผลการใช้ทรัพยากรของบุคลากรอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ มีการใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียงและตรงกับแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้สำเร็จลุล่วงตามแผนที่วางไว้
References
เทอดนรินทร์ อุปลี. (2556). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ถวิล มาตรเลี่ยม. (2544). การปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
ธัชชัย จิตรนันท์ (2555). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อการปฏิรูปรอบสอง และการประเมินภายนอกรอบสาม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2554). การระดมทุนสำหรับสถานศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และคณะ. (2556). ประมวลสาระชุดวิชา การบริหารทรัพยากรการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2548). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
ศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพเด็กพิการสำหรับผู้ปกครองที่มารับบริการภายในศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
สนอง เครือมาก. (2537). คู่มือสอบ: ปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2548). ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงค์. (2546). การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาในสถานศึกษาในประมวลสาระชุดวิชาการจัดการสถานศึกษา หน่วยที่ 1. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2555). เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารทรัพยากรการบริหารสถานศึกษา (School Administrative Resources Management). นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม.
สุรีวัลย์ ภูมิพันธ์, (2559). การพัฒนาแนวทางการระดมทุนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lindhal, W.E., (1992). Strategic Planning for Fund Raising: How to Bring in More Money Using Strategic Allocation. San Francisco: Jssey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Jitta Junkhonkhan, Chumnian Pollaharn

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ