รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงของเด็กและเยาวชนบนฐานฮีตลูก-คองหลานของวัฒนธรรมอีสาน ในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปัญญา เสนาเวียง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-2432-5761
  • สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-4233-9232
  • นัฐธิญา จันทร์ดอน พยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ โรงพยาบาลยางตลาด https://orcid.org/0000-0003-4715-3736

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.145

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน; , ปัญหาความรุนแรงของเด็กและเยาวชน; , ฮีตลูก-คองหลานของวัฒนธรรมอีสาน

บทคัดย่อ

ปัญหาความรุนแรงของเด็กและเยาวชนที่เพิ่มขึ้นทุกวันถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันและแก้ไข การนำเอาหลักคำสอนและหลักปฏิบัติตามฮีต-คองของชาวอีสาน มาพัฒนาเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงของเด็กและเยาวชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพื้นฟูวัฒนธรรมและศาสนาธรรมโบราณมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งผลถึงชุมชนที่เกิดสันติสุขสงบสุขอย่างยั่งยืนเป็นแนวทางที่มีประโยชน์ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม (2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของเด็กและเยาวชนที่ดีบนฐานฮีตลูก-คองหลานของวัฒนธรรมอีสาน ในพื้นที่ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงของเด็กและเยาวชนบนฐานฮีตลูก-คองหลานของวัฒนธรรมอีสานในพื้นที่ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคามเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินผล แบบสังเกต และแบบบันทึก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัญหาความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษาปัญหาความรุนแรงและบ่อเกิดความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลเขวาแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ด้านประกอบด้วย (1) ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของเด็กและเยาวชน (2) ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนคือความรุนแรงทางวาจาและความรุนแรงทางกาย 2. หลักคำสอนและหลักปฏิบัติของเด็กและเยาวชนที่ดีบนฐานฮีตลูก-คองหลานของวัฒนธรรมอีสานคือหลักปฏิบัติตนจากคองสิบสี่สำหรับประชาชาน และจากวรรณกรรมอีสาน เรื่องปู่สอนหลาน ย่าสอนหลาน เทวดาสอนโลก เป็นหลักปฏิบัติที่ได้รับอิทธิพลจาพระพุทธศาสนา คำสอนเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่เป็นคู่มือ ในการพร่ำสอนลูกหลาน ซึ่งมีการสอดแทรกจริยธรรมหรือคติธรรมอันเป็นธรรมเนียมหลักเป็นแนวทางหรือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดี 3.รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงของเด็กและเยาวชนบนฐานฮีตลูก-คองหลานของวัฒนธรรมอีสานในพื้นที่ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่ามีการวางแผนการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้ง 4 ฝ่ายและใช้การค้นหาทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาจัดกิจกรรมในการบูรณาการการอนุรักษ์ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่และสอดแทรกคำสอนคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กและเยาวชน

References

เกื้อพิศุทธิ์ ประพรหม และ ทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2561). การอบรมเลี้ยงดู ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรง ความฉลาดทาง อารมณ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นตอนปลาย ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2), 158-176.

นญา พราหมหันต์. (2560). ทายาทความรุนแรง : แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงาน ยุติธรรม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุพงษ์ ชูรัตน์ และ ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม. (2563). บทบาทของชุมชนในการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษาอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 126-136.

ไมตรี อินเตรียะ. (2560). ทุนทางสังคม Social Capital. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(2), 14-25.

รมิดา แสงสวัสดิ์. (2560). ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งฤดี วงค์ชุม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัว และความผูกพันระหว่างบิดามารดากับบุตรกับพฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 8-23.

วสมน ทิพณีย์. (2559). การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวตามแนวพุทธธรรม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 51-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15

How to Cite

เสนาเวียง ป. ., ชยานุสาสนี จันทร์ดอน ส. ., & จันทร์ดอน น. . (2022). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงของเด็กและเยาวชนบนฐานฮีตลูก-คองหลานของวัฒนธรรมอีสาน ในจังหวัดมหาสารคาม . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 253–268. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.145