การปฏิรูประบบราชการกับการพัฒนาประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.140

คำสำคัญ:

การปฏิรูประบบราชการ; , ประเทศไทย 4.0; , กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

บทคัดย่อ

จากการที่ประเทศไทยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วตามแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาความกินดีอยู่ดีของประชาชนในสังคม และการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยความสำคัญดังกล่าว รัฐบาลจึงได้มีการปฏิรูประบบราชการ ในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้น มีภารกิจหลัก ได้แก่ การสร้างคน สร้างองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมของประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยประเด็นท้าทายสำหรับการปฏิรูประบบราชการดังกล่าว ได้แก่ การสร้างระบบงานอย่างมีเอกภาพระหว่างอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีการบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และสามารถแก้ไขปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืนและเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทย 4.0 จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูประบบราชการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการศึกษา ซึ่งเป็นดำเนินภารกิจนำคนไทยก้าวเข้าสู่โลกแห่งนวัตกรรมในอนาคตต่อไป

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2559). ประเทศไทย 4.0. จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน ฉบับประชารัฐ 2. [Online] http://www.prd.go.th/download/article/article_20160513085559.pdf [16 ตุลาคม 2565]

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2557). ความเป็นมากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. [Online]https://www. mhesi.go.th/ [16 ตุลาคม 2565]

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). 3 ปี อว. กับความสำเร็จการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ. [Online] https://www.ops.go.th/th/data-store/archive-documents/item/6528-3 [16 ตุลาคม 2565]

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2541). ปฏิรูปราชการเพื่อความอยู่รอดของไทย การปฏิรูปราชการ ยุทธศาสตร์สำคัญของการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

นารีลักษณ์ ศิริวรรณ. (2562). กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. [Online] https://library.parliament.go.th/sites/default/files/assets/files/works/academic%20office/radio%20scripts/pdf/2562-09/NALT-radioscript-rr2562-sep1.pdf [16 ตุลาคม 2565]

นิรมิษ เพียรประเสริฐ. (2560). Smart Classroom: ห้องเรียนในยุค 4.0. นิตยสาร สสวท, 45 (208), 40-45.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2562) การปฏิรูประบบราชการ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. [Online] https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=54291&filename=index [16 ตุลาคม 2565]

มูลนิธิมั่นพัฒนา. (2561). ทางรอดของอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 กับกระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม. [Online] http://www.tsdf.nida.ac.th/th/article/10986/1014-ทางรอดของอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 กับกระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม [16 ตุลาคม 2565]

ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2551). แนวความคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. เชียงใหม่ : ธนุชพริ้นติ้ง.

สมาน รังสิโยกฤษฏ์. (2552). การปฏิรูปภาคราชการ: แนวคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ประวัติหน่วยงาน. [Online] https://www.ops.go.th/th/aboutus/history [16 ตุลาคม 2565]

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2557). การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. [Online] https://www.ops.go.th/th/aboutus/history [16 ตุลาคม 2565]

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570. [Online] https://backend.tsri.or.th/files/trf/2/docs/Policy_and_Strategy_of_Thailand_HESI_2563-2570_and_Thailand_SRI_Plan_2563-2565.pdf [16 ตุลาคม 2565]

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. วารสารไทยคู่ฟ้า, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. 11(1), 3-24.

เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2554). แนวความคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรอุมา พัชรวรภาส. (2547). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของข้าราชการพลเรือนเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการ: กรณีศึกษาข้าราชการพลเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2559). รัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ ฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

อาณะกร กระจ่างศิวาลัย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการต่อกรณีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. [Online] https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt13-1/sec1/6014993025.pdf [16 ตุลาคม 2565]

Kobkaew, J.. (2019). Red label ministry Can 'Higher Education, Science, Research and Innovation' really change Thai education?. [Online] https://www.salika.co/2019/05/16/ministry-of-higher-education-science-research-and-innovation/ [16 October 2022]

Albrow, M., (1970). Bureaucracy (Key Concepts in Political Science). Pall Mall: Red Globe Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-08

How to Cite

ผ่องอ่วย ว. ., ศรีจอมขวัญ ณ., สลับสี ส., & บดีรัฐ . โ. . (2022). การปฏิรูประบบราชการกับการพัฒนาประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(6), 149–166. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.140