การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2023.136คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้; , การมีส่วนร่วมภูมิปัญญาท้องถิ่น; , ทักษะอาชีพบทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา มีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้การปฏิรูป การศึกษาบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัด การศึกษาโรงเรียนในปัจจุบันยังไม่สามารถทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้ ฉะนั้นการที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาก็เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้การกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการจัดการเรียนรู้และทักษะของผู้เรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) ยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 285 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์ เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practices) จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนและทักษะอาชีพของผู้เรียน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสมของรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ (5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯ และระยะที่ 4 ยืนยันประสิทธิผลรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) สภาพการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวมมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และทักษะอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (2.1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (2.2) หลักการ (2.3) วัตถุประสงค์ (2.4) เนื้อหา (2.5) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นการสาธิต ขั้นขยายความรู้ และขั้นการวัดและประเมินผล (2.6) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ (2.7) การวัดและประเมินผล และ (2.8) เงื่อนไขของการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา มีทักษะอาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ผลการยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากเช่นกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง) . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยภูมิปัญญาชาวบ้านในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ทัศนีย์ ทองไชย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2562). การให้การปรึกษาวัยรุ่น. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพ็ญพะนอ พ่วงแพ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภรณี ศิริวิศาลสุวรรณ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มหลักสูตรและการนิเทศ) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มานพ สกลศิลป์ศิริ. (2558). การพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1 (2), 3–14.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2561). รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี 2561. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1.
Davies, P., & Dunnill, R., (2008). Learning study as a model of collaborative practice in initial teacher education. Journal of Education for Teaching, 34(1), 3-16.
De Cecco, J.P. (1974) The Psychology of Learning and Instruction: Educational Psychology. Englewood Cliffs. Edition 2. New Jersey: Prentice Hall.
Harrow, A. (1972). A Taxonomy of the Psychomotor Domain: A Guide for Developing Behavioral Objectives. New York: Longman Inc.
Mahdioubi, D. (2009). Four Types of R&D .Austin, Texas: Research Associate, IC2 Institute
Maslow, Abraham H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harpers and Row.
Schlegel (1995). American Legal Realism and Empirical Social Science. Chapel Hill, NC: University of North Carolina.
Super, D.E. (1957). The psychology of Careers. New York: Harper.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สุภาพร ลามะให, ทิพาพร สุจารี, พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ