การจัดการความสัมพันธ์ของผู้จัดหาวัตถุดิบของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ เพ็งสมบูรณ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0000-0003-2313-4012
  • สวรรค์ลม สุทธิอาจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0000-0001-7300-0077
  • จรรทิมา ทาทอง สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0000-0003-2537-1492
  • ศุภรัตน์ อัครพิสิฐวงศ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0000-0002-5552-7171
  • วัลย์ประภา ภิรมย์ภัฎ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://orcid.org/0000-0002-5597-6911

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.125

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการจัดการความสัมพันธ์; , ผู้จัดหาวัตถุดิบ; , ร้านค้าปลีกสมัยใหม่; , สถานที่ตั้ง;, การขนส่ง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันธุรกิจอาหารสดมีปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น สาเหตุหนึ่งมาจากการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารทั้งในและต่างประเทศ สำหรับต่างประเทศก็มีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคใกล้เคียงมากขึ้น ส่งผลให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อเร่งผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด  ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการความสัมพันธ์ของผู้จัดหาวัตถุดิบของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ประสบการณ์การทำงาน ลักษณะธุรกิจ จำนวนพนักงานตำแหน่ง และศึกษาปัจจัยด้านความสัมพันธ์ของผู้จัดหาวัตถุดิบที่มีอิทธิผลต่อประสิทธิภาพการจัดการความสัมพันธ์ของผู้จัดหาวัตถุดิบของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เครื่องมือที่ใช้เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 ชุด และใช้การสัมภาษณ์โดยตรงจาก ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างของร้านค้าปลีก จำนวน 25 ร้าน ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 1 - 5 ปี เป็นเจ้าของกิจการคนเดียว และมีรายได้ส่วนตัวระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่า significance ของตัวแปร ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ลักษณะธุรกิจ และรายได้เฉลี่ย/เดือน มีค่ามากกว่าระดับนัยสำคัญ 0.05 แสดงว่า ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ลักษณะธุรกิจ และรายได้เฉลี่ย/เดือน มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการความสัมพันธ์ของผู้จัดหาวัตถุดิบของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ไม่แตกต่างกัน ผลการทดสอบสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่า มีตัวแปรอิสระเพียง 1 ตัวเท่านั้นที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ คือ การจัดส่งและขนส่ง โดยค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 84.2 ส่วนที่เหลือ อีกร้อยละ 15.8 คือ ปัจจัยอื่นนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา คือ ปัจจัยอื่นนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา โดยสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ y = 0.173 + 0.936 การจัดส่งและขนส่ง ซึ่งจากผลการวิจัยผู้ประกอบการต้องเน้นการจัดส่งและขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะทำให้ผู้จัดหาวัตถุดิบสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำขึ้น และผู้จัดหาวัตถุดิบจะสามารถจัดส่งสินค้าได้ตรงตามจำนวนและทันตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กิรณา แก้วสุ่น, ไกรชิต สุตะเมือง. (2559). อิทธิพลของการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดหาวัตถุดิบที่มีต่อผลการดำเนินการด้านการจัดซื้อจัดหาผักและผลไม้สดในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

คณบดี แย้มชุติ, ฉัตรธาร ลิ้มอุปถัมภ์, ฮิมานชู เค. ชี (2561). ผลกระทบของการสร้างพันธมิตรในการจัดซื้อต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในการจัดซื้อของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 27 (1), 146-156.

พรหมภัสสร ปุญญบาล, วรินทร์ วงษ์มณี. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์ กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

สิริวรรณ คงตุ้ง, ชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อ.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สุกัญญา ทำทอง. (2556). การศึกษาการควบคุมภายในวงจรการจัดซื้อของธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 2 (1), 101-113.

อดุลย์ จาตุรงคกุล (2540). การจัดซื้อ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ บริรักษ์ (2553). Warehouse & inventory 2; Logistics case study in Thailand ; เล่มที่ 14. กรุงเทพฯ : Logistics Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-26

How to Cite

เพ็งสมบูรณ์ ว. ., สุทธิอาจ ส. ., ทาทอง จ. ., อัครพิสิฐวงศ์ ศ. ., & ภิรมย์ภัฎ ว. . (2022). การจัดการความสัมพันธ์ของผู้จัดหาวัตถุดิบของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), 787–800. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.125