ความท้าทายผู้นำในการบริหารจัดการภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษามหาอุทกภัย
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.143คำสำคัญ:
ความท้าทายผู้นำ; , การบริหารการจัดการกับภัยพิบัติ; , การจัดการอุทกภัย; , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
แนวคิดการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ โดยนำแนวคิดทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติได้และสามารถปรับแนวทางการปฏิบัติติงานด้านภัยพิบัติให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงกับกระแสโลกและภัยพิบัติที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น, จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการภัยพิบัติในปัจจุบันจึงควรปรับเปลี่ยนจากแนวทางการปฏิบัติแบบเดิมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการ ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศึกษาข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา : กรณีศึกษามหาอุทกภัย ได้ศึกษาจากเอกสารแหล่งข้อมูลที่เชิงประจักษ์ในอดีตและปัจจุบัน ถูกนำมาใช้ในการศึกษาและอภิปรายด้วยวิธีการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษามหาอุทกภัย พบว่า แนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติ ควรเป็นแผนปฏิบัติงานเชิงรุกและจะต้องปฏิบัติได้ทันที คือแผนปฏิบัติการรับมือภัยพิบัติของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปบริหารจัดการบนความท้าทายของผู้นำในภาวะวิกฤตที่เผชิญ 2 แผนงาน คือ (1.1) ก่อนเกิดเหตุจะต้องมีการรับมือภัยพิบัติโดยอาศัยความเข้าใจแบบมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ มีการจัดการแบบยุทธศาสตร์แผนรับมือน้ำท่วมโดยเฉพาะ การปรับกระบวนการและสร้างแนวรับมือแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน การบริหารบนภาวะความผันผวน การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร็ว และ (1.2) หลังเกิดเหตุจะต้องมีการแก้ไขและควบคุมความผันผวน จากปัจจัยปัญหาด้านเทคโนโลยี ด้านปัญหาทรัพยากรพลังงานลดน้อยลง ด้านปัญหาสังคมและขยายตัวเมืองเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาอาชีพและแรงงาน ความท้าทายเป็นความเสี่ยงที่ผู้นำจะต้องมีการกำกับ ติดตามแผนการรับมือภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง (2) ข้อเสนอแนะและวิธีการแก้ไขปัญหา โดยนำแผนการแจ้งเตือน และแบบฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัตินำมาปฏิบัติ แบ่งออกเป็นแผนการรับมือ 3 ระยะ (4F-3F-4F) จากการศึกษานำมาขับเคลื่อนการวางแผน ดำเนินงาน การสื่อสาร การติดตามประเมินผลในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยอาศัยการมีส่วนร่วมและรับฟังข้อเสนอแนะในการรับมือภัยพิบัติของทุกฝ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบความเสียหายอย่างเป็นระบบ
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2557). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2559). หนังสือคำศัพท์ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2564). รัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดเพื่อการจัดการปกครองสาธารณะในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2565). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570. [Online] https://dmcrth.dmcr.go.th/attachment/dw/download.php?WP=nKq4MUNjoGy3ZHkCoMOahKGtnJg4WaN4oGA3A0j1oH9axUF5nrO4MNo7o3Qo7o3Q
ไชยนันท์ ปัญญาศิริ. (2563). แนวคิดร่วมสมัยทางการจัดการสาธารณะ : การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบและการประยุกต์ใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ธรรมนิติ เพรส.
ณฐภัทร อินทรปรีดา,ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2565). ภาวะผู้น าการปรับเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการงานในโลกแห่งความผันผวน. Ratchaphruek Journal. 20 (2), 16-28. DOI: 10.14456/rpjnrru.2022.2
ทศพล อัครพงษ์ ไพบูลย์, เพ็ญศรี ฉิรินัง, อรุณ รักธรรม, และสมพรเฟื่อง จันทร์. (2563). การบูรณาการการจัดการภัยพิบัติในยุค 4.0. วารสาร นวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(3), 14-23.
ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี. (2017). วิเคราะห์บริบทความท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหาร ท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0. Asian Journal of Arts and Culture, 17(1), 63-78.
สกาวเดือน พิมพิศาล และอนุชา ลาวงค์. (2558). การวางแผนกลยุทธ์และการบริหารโครงการบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(1), 83-92.
สถาบันพระปกเกล้า. (2563). การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่อง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนประเทศไทย ปี พ.ศ.2563. ขอนแก่น : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Uchiyama, C., Linda Anne, S., & Tandoko, E. (2020). Climate Change Research in Asia: A knowledge synthesis of Asia-Pacific Network for Global Change Research (2013-2018). Environmental Research, 188(2),109635, DOI: 10.1016/j.envres.2020.109635
Northouse, P. G. (2016). Adaptive Leadership in Leadership: Theory and Practice. 7th edition. California: SAGE Publication.
Parween, S. & Deepak, S. (2019). Positioning the future of Human Resource Management in a VUCA World. [Online] https://www.researchgate.net/publication/333673492.
Prakongsri, P., & Santiboon, T. (2020). Effective Water Resources Management for Communities in the Chi River Basin in Thailand. Environmental Claims Journal, 32(4), 323-348.
United Nations Office for Disaster Risk Reduction. (2019). Global Assessment Report on Disaster Risk Reduction. Geneva: UNDRR.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 อนุชา ลาวงค์, วาริธ ราศรี, นุจรี ใจประนบ, บัญชา พุฒิวนากุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ