ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในเขตจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร มุ่งดี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0002-7068-4757
  • ละมัย ร่มเย็น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-9969-8688
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-6345-8455

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.120

คำสำคัญ:

ความสุขในการทำงาน; , ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

ความสุขในการทำงานของบุคลากรจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลให้ภารกิจ หน้าที่ หรือกิจกรรมที่ดำเนินการนั้นเกิดประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในทางตรงกันข้ามหากบุคลากรประสบปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ก็อาจจะส่งผลให้ประสิทธิผลในการทำงานนั้นลดน้อยลงไปด้วย โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร (3) เพื่อแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานจ้าง) ที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 226 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสุขในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความสุขในการทำงานด้านความสำเร็จในงาน (β=.446) ด้านการเป็นที่ยอมรับ ((β=.221) ด้านการติดต่อสัมพันธ์ (β=.171) และด้านความรักในงาน (β =.162) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 78.70 (R2Adj=.787) (3) แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้แก่ ผู้บริหารควรพัฒนาศักยภาพในการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง การฝึกอบรม เพื่อให้สามารถบริหารงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการกำหนดนโยบายและการบริหารที่เหมาะสมเอื้อให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีแรงจูงใจการทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน และเอาใจใส่ให้กับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมเท่าที่จะทำได้ ควรส่งเสริมให้พนักงานทำงานเป็นทีม และพัฒนาสมรรถภาพของพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ควรมีการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอต่อการทำงาน และควรเปิดโอกาสให้กับบุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน

References

การปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2559). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: การปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

จิระสันต์ วงษ์วรสันต์. (2560). ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อยของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชินกร น้อยคำยาง. (2555). รายงานการวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐหทัย นันทะผา. (2560). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานพญาไท: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร. (2561). บรรยายสรุปที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร ปี 2561. สกลนคร: ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร.

ธญา เรืองเมธีกุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พรรณิภา สืบสุข. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงาน ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารพยาบาล. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

พลอยไพลิน สุขอภัย. (2558). ปัจจัยแรงจงใจและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความสขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารพาณิชย์ไทย ในเขตกรงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัชรี ศาลาศิลป์. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานของสำนักงานจังหวัด. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2018). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร. 6 (Special issue), 590-599.

เมธาพร ผังลักษณ์. (2559). ความสุขในการทำงานของครูในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชระ ขำเลิศ (2558). ความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักบริหารกลาง กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็ก จำกัด.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุทธิชา คหัฏฐา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการสำนักงานเขตลาดพร้าว. การค้นคว้าอิสระ วท.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุมาลี ดวงกลาง. (2560). ความสุขในการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

อารีรัตน์ แตงเที่ยง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการพนักงานราชการและลูกจ้างประจำของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Dasa, C. (2009). Happy Workplace. [Online] Retrieved August 25, 2019, from http://www.il.mahidol.ac.th/th/images/stories/ echange/7-05-52_Column_6.pdf.

Jaitha, A. (2016). Joy in the performance of the personnel Department of the Ministry of Justice, protection of the rights and freedoms. Pathum Thani.

Ketchian, L., (2003). Work happiness. [Online] Retrieved August 25, 2019, from http//www.Happiness]Club.com.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration. 33(12), 652-655.

Opener. (2003). Work happiness. [Online]. Retrieved August 25, 2019, from: http://www.iopener.co.uk/Work happiness.

Pun, Kit Fai, & Anthony Sydney White. (2005). A Performance Measurement Paradigm for Integrating Strategy Formulation: A Review of Systems and Frameworks. International Journal of Management Reviews. 7(1), 49-71.

Warr: (1990). The measurement of well-being and other aspects of mental health. Journal of Occupation Psychology. 63, 193-210.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-13

How to Cite

มุ่งดี ฐ. ., ร่มเย็น ล. ., & อุดมกิจมงคล ช. . (2022). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในเขตจังหวัดสกลนคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), 691–712. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.120