อิทธิพลของปัจจัยทางการบริหาร ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.92คำสำคัญ:
ปัจจัยการบริหาร; , ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์; , ประสิทธิภาพการให้บริการบทคัดย่อ
การให้บริการประชาชนในระบบราชการถือเป็นกลไกของรัฐที่นำมาปฏิบัติ คุณภาพการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ จัดได้ว่าเป็นเรื่องหรือแนวคิดใหม่ที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการตามกรอบและบริบทของการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐของไทย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหาร ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และประสิทธิภาพการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางการบริหารและภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการ การศึกษาครั้งนี้ศึกษาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครพนม จำนวน 273 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพการให้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยทางการบริหาร ด้านคุณธรรมจริยธรรม (β =.563) ด้านงบประมาณ (β =.359) และด้านวิธีการทำงาน (β=.183) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยสามารถทำนายระดับประสิทธิภาพการให้บริการได้ร้อยละ 67.10 (R2Adj=.671) ส่วนปัจจัยทางการบริหาร ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการจัดการ ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ด้านการควบคุมองค์การให้สมดุล (β =.290) และด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (β=.268) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถทำนายระดับประสิทธิภาพการให้บริการได้ร้อยละ 43.10 (R2Adj=.431) ส่วนภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ด้านการบริหารทรัพยากรในองค์การ ด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ และด้านการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการ
References
ณัฐพล อินธิแสง. (2564). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เดชชนะ อุสาพรหม. (2559). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
แดนไทย ต๊ะวิไชย และคณะ. (2561). ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
นิดา โฆวงศ์ประเสริฐ. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการเข้ารับบริการงานทะเบียนราษฎร กรณีศึกษา: ที่ว่าการอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระมหาสนอง ปจฺโจปการี (จำนิล). (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการบริหารงานของ เทศบาลตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม.รายงานการวิจัย. นครพนม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม.
พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์, ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา.
มันทนา กองเงิน. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการขจัดความขัดแย้งของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยศวดี เชื้อวงศ์พรหม. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วันวิศาข์ บรรเทา. (2564). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วารุณี ขำสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนานาฃาติแสตมฟอร์ด.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2553) การบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ: การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สำนักงานท้องถิ่นอำเภอเมืองนครพนม. (2563). ข้อมูลพื้นฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. นครพนม: สำนักงานท้องถิ่นอำเภอเมืองนครพนม.
สุจิตรา สิงห์หันต์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐของส่วนราชการ ในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุภัทรา สงครามศรี. (2558). แบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงาน ของสถาบันการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การจัดการดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เสาวลักษณ์ ดีมั่น. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทราการ.วิทยานิพนธ์ รป.ม. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
Boal, K.B., & Schultz, P.L. (2007). Storytelling, Time, and Evolution: The Role Strategic Leadership in Complex Adaptive Systems. The Leadership Quarterly Journal, 18 (4), 411-428.
Hitt, lreland, & Hoskisson. (2007). Achieving and maintaining strategic competitiveness in the 21st Century: The role of strategic leadership. Academic of management executive, 19 (4), 63-77.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1986). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
Lear, L. W. (2012). The relationship between strategic leadership and strategic alignment in high-performing companies in South Africa. Dissertation Doctor of Business Leadership. University of South Africa.
Millet, John D. (2012). Management in the Public Service. New York: McGraw Hill Book Company.
Robbins, S.P., & Coulter, M. (2013). Management. 12th Edition. New Jersey: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 เรียวฤดี รันศรี, ละมัย ร่มเย็น, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ