แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.95คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการทำงาน; , ความสุขในการทำงานบทคัดย่อ
ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน ทั้งนี้เพราะบุคลากรที่มีความสุขกับการทำงานจะมีความผูกพันและจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงานจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน การศึกษาครั้งนี้ศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 จำนวน 179 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความสุขในการทำงานของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความสุขในการทำงานของบุคลากรแตกต่างกันตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านจังหวัดที่ปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความแตกต่างกัน (3) แรงจูงใจในการทำงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านโอกาสก้าวหน้า ด้านลักษณะของงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านสถานะของอาชีพ และด้านการได้รับการพัฒนามีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.00 ส่วนด้านความรับผิดชอบมีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยองค์ประกอบดังกล่าวสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 94.90 (R2Adj=.949)
References
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). การบริหารทรัพยากรบุคคล = Human resource management. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.
จิระสันต์ วงษ์วรสันต์. (2560). ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อยของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ): มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัชรินทร์ ทองหม่อมราม. (2563). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณรงค์เดช โกรัตนะ. (2563). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐชนันท์พร ทิพย์รักษา. (2556). แรงจูงใจในการทำงาน ความบ้างาน และความสุขในการทำงาน. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธญา เรืองเมธีกุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นูร์ปาซียะห ์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พรเพชร บุตรดี. (2563). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิรงรอง โชติธรสกุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทไทย เบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. รายงานการวิจัยสาขาวิชาการการจัดการการสื่อสารองค์กร: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2018). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 6 (ฉบับพิเศษ), 592-599.
รติ บำรุงญาติ. (2557). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่พยากรณ์ความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การขนส่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สรชัย พิศาลบุตร. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2561). การศึกษาความสุขในการทำงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุข ในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ.รายงานการวิจัยภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุไรลักษณ์ ปุ่มเป้า. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Best, J.W. (1993). Research in Education. Boston, M.A.: Allyn and Bacon.
Cummings, L. L., & Schwab, D. P. (1973). Performance in organizations: determinants and appraisal. Glenview, IL: Scott, Foresman.
Herzberg, F. Bernard, M., & Barbara, B.S (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.
Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33 (12), 652-655.
Schermerhorn. John R.., James G. Hunt, & Richard N. Osborn. (1991). Managing Organizational Behavior. 4th ed. New York: John Willey and Sons.
Steers, R. M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.
Warr, P. (1990). The measurement of well-being and other aspects of mental health. Journal of Occupation Psychology, 63, 193-210.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ณัฐฐินันท์ ศรีนุกูล, สามารถ อัยกร, ชาติชัย อุดมกิจมงคล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ