ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.65คำสำคัญ:
รถยนต์อีโคคาร์; , พฤติกรรมการซื้อ; , ผู้บริโภคบทคัดย่อ
ตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2560-2563 มีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นลำดับ ส่งผลดีทั้งกับผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ตัวแทนจำหน่ายยังมีปัจจัยหนุนจากรายได้การบริการหลังการขายต่อเนื่องตามจำนวนรถยนต์อายุไม่เกิน 5 ปี ที่สะสมในตลาดจำนวนมาก จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาส่งผลให้ตลาดรถยนต์อีโคคาร์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์อีโคคาร์ ในเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25-35ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000บาท สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในเขตแหลมฉบังโดยภาพรวมมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.8) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรีทั้ง 4 ด้าน มีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านราคา (ค่าเฉลี่ย= 4.06) มีระดับการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย= 3.98) ด้านช่องการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย= 3.97) และด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย= 3.80) ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์, ด้านราคา, ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย, ด้านส่งเสริมการตลาด
References
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. (2556). วิธีการวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คัทลียา ฤกษ์พิไชย. (2564).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานไฮบริ ดของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Energy and Environment Technology. 8 (1), 82-97.
จรรยา ยกยุทธ์ และ นลินี ทองประเสริฐ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11 (1), 38-48.
ฑิฆัมพร ทวีเดช และ สมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563).ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้อาศัยในจังหวัดปราจีนบุรีด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน. วารสารสารสนเทศ, 19 (1), 57-70.
ณัฐฐิพงษ์ ภาคีรักษ์, ฤทัยวรรณ ตัณฑุลอุดม และ สุนีย์ วรรธนโกมล. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถยนต์ปิกอัพของผู้บริโภค. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3 (1), 60-70.
ธัญวดี มัสเยาะ อิงอร ตั้นพันธ์ และสาวิตตรี จบศรี. (2564).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 13 (1), 283-295.
บุษบา ไชยอุปละ. (2549). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นมของผู้บริโภคใน อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มัลลิกา ธรรมจริยาวัฒน์. (2556). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศรินทิพย์ ธีรธนิตนันท์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์โตโยต้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 2 (2), 198-216.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : เอ. เอ็น. การพิมพ์
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2558). การวิจัยตลาด. กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Chompoonut Rianpreecha Chompoonut Rianpreecha, Anothai Bunyaboon, Sutep Tongpae, Wichian Chaiyawan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ