การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระเศรษฐศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ สุระขันธ์ สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-1035-9837
  • ประภัสสร ปรีเอี่ยม สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-0973-8143
  • ประสพสุข ฤทธิเดช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0001-8018-8565

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2022.58

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนสอนโดยใช้นวัตกรรมจึงมีส่วนช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ครูผู้สอนจึงยกเอา การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ซึ่งมีขั้นตอนในการสอน 5 ขั้น มาใช้ให้เข้ากับบริบทของนักเรียน โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆในการเรียนที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นกระบวนการทางความคิดที่มีความสำคัญต่อเด็ก ทำให้เด็กสามารถสร้างความคิด สร้างจินตนาการ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระเศรษฐศาสตร์ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระเศรษฐศาสตร์ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลหนองกอง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (dependent) 

ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมระดับมากอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ มีค่าเท่ากับ 0.6694 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ร้อยละ 66.94 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.49, S.D.= 0.62)

References

กนิษฐา จีถม. (2550). การใช้กิจกรรมต่อชิ้นส่วนเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน การพูดภาษาอังกฤษ และ ทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับก้าวหน้า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปจิตรา สมหมาย, ประภาศ ปานเจี๊ยงและนงนภัสส์ มากชูชิต. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ (JIGSAW) ร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ภูมิภาคโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ประภัสสร ปรีเอี่ยม. (2561). บุพปัจจัยการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องกการพิเศษโดยใช้เทคนิคการเสริมต่อ การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของครูในชั้นเรียนรวม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12 (3), 271 – 280.

พุทธชาด วูโอริ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการทบทวนหลังการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคม ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6 (2), 173-192.

โรงเรียนอนุบาลหนองกอง. (2563). รายงานผลการดำเนินงานโรงเรียนอนุบาลหนองกอง ประจำปี 2563. อุดรธานี : โรงเรียนอนุบาลหนองกอง.

ศิรินภา น้อยสว่าง. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์. (2550). การสอนสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุพัตรา ทองคำ. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลากับประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์กับการเรียนรู้แบบปกติ. โรงเรียนสาธิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

Munkham, S. (2007). Strategies of learning a creative thinking. 4th edition, Bangkok: Parbpim Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-05

How to Cite

สุระขันธ์ ศ. ., ปรีเอี่ยม ป. ., & ฤทธิเดช ป. . (2022). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระเศรษฐศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(4), 287–300. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.58