การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายพื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • บุษราคัม ยอดชะลูด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

DOI:

https://doi.org/10.14456/iarj.2021.17

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้; การอ่านจับใจความสำคัญ; นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อทดสอบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และ3) เพื่อวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 6 โรงเรียนในอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระดับชั้นละ 5 คน รวมจำนวนทั้งหมด 6 โรงเรียน จำนวนคน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ มีลักษณะเป็นแบบวัดปรนัยชนิดเลือก 3 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย โดยมีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่าซึ่งเป็นภาพหน้าคนมี 3 ระดับคือ มาก ปานกลาง น้อย จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถทางด้านการอ่านจับใจความสำคัญก่อนเรียนและหลังเรียนมาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของแบบฝึก (E1/E2) และวิเคราะห์เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า
          1. ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 คือ เรื่องที่ 1 เกาะแม่หม้าย มีประสิทธิภาพ 83.18/86.40 เรื่องที่ 2 หมาได้กินข้าว ควายได้กินหญ้า มีประสิทธิภาพ 84.33/89.80 เรื่องที่ 3 เรื่องเล่าผีโพง มีประสิทธิภาพ 88.10/86.89 เรื่องที่ 4 ตำนานช้างปู้ก่ำงาเขียว มีประสิทธิภาพ 83.35/87.00 เรื่องที่ 5 ผีปอบ มีประสิทธิภาพ 86.02/89.09 เรื่องที่ 6 คนปากบอน มีประสิทธิภาพ 85.13/83.59 เรื่องที่ 7 ดาววีไก่น้อย มีประสิทธิภาพ 88.19/86.85 เรื่องที่ 8 คนกับควายน้อย มีประสิทธิภาพ 82.68/84.88 เรื่องที่ 9 ไอ่ปุ๊ดขี้จุ๊มีประสิทธิภาพ 88.33/87.32 และเรื่องที่ 10 ประวัติศาสตร์บ้านฉัน มีประสิทธิภาพ 86.20/88.56
          2. ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีค่าเฉลี่ยก่อนการใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญอยู่ที่ 7.95 และมีค่าค่าเฉลี่ยหลังการใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญอยู่ที่ 14.46 คะแนนหลังเรียนมีเกณฑ์สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน
          3. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย พบว่านักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 2.84 S.D. = 0.35)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย. (2563).รายงานผลการจัดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562.เชียงราย:สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย.

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ .(2561).ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : ที่ประชุมอธิการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นงคิด พัฒนปฏิธาน.(2553).การพัฒนาสมรรถภาพและความคงทนในการอ่าน ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ชุมชนบ้านไม้ลุงขนมิตรภาพที่ 169 สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย.เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ประคอง นิมมานเหมินท์.(2545). นิทานพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงาน วิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริศนา ก๋าคำ .(2561). การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยนิทานพื้นบ้านล้านนาโดยใช้ หลักการ บูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่างิ้ววิทยา อำเภอ เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย.เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏ.(2561).ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ศิราพร ณ ถลาง.(2557).ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนานนิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย หอมยก .(2550). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์.

สุดารัตน์ จีนประโคน. (2547). สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์.(2540).การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่าน-เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้การเปลี่ยนรูปแบบนิทานพื้นบ้าน ในจังหวัดยะลาและปัตตานี. (ศึกษาศาสตรมหบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.สืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.

อนันต์ โค้วจิริยะพันธุ์.(2555). รายงานผลการพัฒนาสมรรถภาพการอ่าน โดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านใหม่ท่าต้นเกี๋ยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite

ยอดชะลูด บ. . (2021). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายพื้นที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 1(4), 13–24. https://doi.org/10.14456/iarj.2021.17