การพัฒนาสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282073คำสำคัญ:
สมรรถนะ, หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ, การรู้เท่าทันสื่อ, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การรู้เท่าทันสื่อเป็นแนวคิดที่สำคัญของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะการจัดทำหน่วยบูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ ตามแนวทางของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองและคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องได้รับการพัฒนา การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และ 2) เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 48 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม
ระเบียบวิธีการวิจัย: เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการ
พัฒนาสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี
ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) คู่มือการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ
โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) แบบทดสอบวัดความรู้ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทัน
สื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีลักษณะเป็นแบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4)
แบบประเมินทักษะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี
ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัด
กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย: (1) สภาพปัจจุบัน ปัญหาในการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) นักศึกษามีคะแนนการทดสอบหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผล: สมรรถนะการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ การรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยรวมสูงขึ้นทุกด้าน
References
โตมร อภิวันทนากร. (2552). คิดอ่าน ปฏิบัติการเท่าทันสื่อ คู่มือสำหรับจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้ทันสื่อ. กรุงเทพ: แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2549). การค้นหาและวิเคราะห์เจาะลึก Competency ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพ: เอชอาร์เซ็นเตอร์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.
สมศักดิ์ บุญขำ. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Dudgeon, C. (1995). Creating and sustaining learning communities. Essay presented to Nova Southeastern University as partial criteria for the Programs for Higher Education Scholars Program, Fort Lauderdale, FL. (ERIC Document Reproduction Service No. ED386118).
DuFour, R. (2004). What is a professional learning community? Educational leadership, 61(8), 6-11,
DuFour, R., & Eaker, R. (1998). Professional learning communities at work: Best practices for enhancing student achievement. Bloomington, IN: National Education Service.
Kemp, J. E., Morrison, G. R., & Ross, S. V. (1994). Design effective instruction. New York: Macmillan.
McClelland, D. (1973). Testing for Competency Rather than for Intelligence American Psychologist. p.80. New York: Association Press.
Potter, W. J. (2004). Theory of media literacy: A Cognitive approach. California USA: Sage Publications.
Silverblatt, A. & Eliceiri, E. M. E. (1997). Dictionary of Media Literacy. Greenwood.
Spencer, L.M., & Spencer, S.M. (1993). Competencies at Work: Model for Superior Performance. Wiley New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ