การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เยาวพาณี คำด้วง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0002-7856-1097
  • พีรญา มะธิโตปะนำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0002-4314-4082
  • เถวียน ปาปะขี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0008-7952-8890
  • จักรพงษ์ บุหรัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0002-3538-2435
  • รุ่งเรือง แสนโกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-5686-0150

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281855

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรของโลก ที่คนเกิดน้อยลงและอายุยืนมากขึ้น ทำให้ประชากรทั่วโลกจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมและผลของพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้มีส่วนร่วมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 46 คน และกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยคัดเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวน 35 คน แบ่งการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) วางแผน 2) ปฏิบัติ 3) สังเกตการณ์ และ4) สะท้อนผล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t- test

ผลการวิจัย: พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย การจัดทำแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ การสรุปประเด็นในการพัฒนาตามประเด็นปัญหาและบริบทของพื้นที่ การวางแผนในการแก้ไขปัญหา การสร้างเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ การอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ การอบรมให้ความรู้แก่ญาติผู้สูงอายุ ผู้ดูแลสูงอายุเขียนแผนการเยี่ยมและติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง การทบทวนการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุ ทีมพี่เลี้ยงออกนิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินงานการถอดบทเรียนและการประเมินผลลัพธ์การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพบว่าหลังดำเนินงานแตกต่างจากก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการดำเนินการแตกต่างจากก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผล: รูปแบบที่ได้จาการศึกษาครั้งนี้ คือ มีการวางแผนงานโครงการร่วมกันตามบริบทของพื้นที่ มีการทบทวนบทบาทหน้าที่ การสร้างเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ การอบรมพื้นความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ การติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลร่วมกัน

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย. (2558). คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย.

กฤตวรรณ สาหร่าย. (2562). รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

กุลญาดา เนื่องจำนงค์และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการจัดการภาวะผู้สูงอายุในประเทศไทย : การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความมั่นคงของผู้สูงอายุ. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 12 (2), 219-236.

จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร, มะลิวรรณ ศิลารัตน์, เจียมจิต แสงสุวรรณ, สุวรรณา บุญยะลีพรรณ และ ประสบสุข ศรีแสนปาง. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ทำงานในบริบทสังคมวัฒนธรรมอีสาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 34 (2), 34, 41-48.

ชวลิต สวัสดิ์ผลและคณะ. (2562). การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7 (S), 45-56.

ณัฐฑิฎา นะกุลรัมย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมโดยชุมชนบ้านอังกัญ ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ดวงเนตร ธรรมกุล และคณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสารธารณสุข, 11 (1), 26-36.

ภัทรานิษฐ์ ก้อนคำ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนัสศรา อัจฉริยะเมธากุล. (2562). การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 นครปฐม: พริ้นเทอรี

ยุพา ทองสุข. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์บัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงพยาบาลบรบือ. (2566). รายงานประจำปี. มหาสารคาม: โรงพยาบาลบรบือ.

วัฒนพงศ์ นิราราช. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านบุไทยตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิราภรณ์ โพธิศิริ และคณะ. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นนทบุรี:เอสเอสพละสมีเดีย.

ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. (2561). การจัดการระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (LTC) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชอนสมบูรณ์ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข วิจัยระบบสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2561. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรปริ้นติ้งพับลิสซิ่ง.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงมหานคร : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2566). รายงานประจำปี. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม.

อมรรัตน์ ปะติเก และคณะ. (2561). ผลการดูแลที่บ้านโดยทีมสหสาชาวิชาชีพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11 (4), 860-868

อุทัยวรรณ โคกตาทอง. (2561) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข, 41 (3), 113-118.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action research planner. 3rd edition. Geelong: Deakin University, Australia

United Nations. (2019). World Economic and Social Survey 2019 Development in an Aging World. New York: United Nations Publishing Section.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-06

How to Cite

คำด้วง เ. ., มะธิโตปะนำ พ. ., ปาปะขี เ. ., บุหรัน จ. ., & แสนโกษา ร. . (2025). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนทอง ตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 513–526. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281855

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ