การพัฒนาทักษะการวิจัยและความคิดเห็นของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ ในบริบทการเรียนรู้แบบผสมผสานและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือ

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281717

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือ, ทักษะการวิจัย, ครูภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การมีประสบการณ์ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการวิจัยของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษระหว่างเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือก่อนและหลังเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quanlitative Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาทักษะการวิจัยของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษระหว่างเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสานและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือก่อนและหลังเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือและโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสานกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ครุศาสตรบัณฑิต) จำนวน 45 คน ในปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 1553801 การวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาในกลุ่มที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) แบบประเมินทักษะการวิจัยของกลุ่มวิจัยระหว่างเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือก่อนและหลังเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 4) แบบสอบถามปลายเปิด ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือและโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมและวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Mean Difference) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมและวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย: 1) กลุ่มวิจัยของนักศึกษาทุกกลุ่มมีทักษะการวิจัยรวมหลังเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านเกณฑ์และส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทักษะการวิจัยพบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ โดยมีทักษะการออกแบบการวิจัยมากที่สุด ส่วนทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทักษะในการแปลผลและสรุปผลการวิจัยน้อยที่สุด 2) นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือโดยรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนในโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสานทุกรายการ โดยความคิดเห็นของนักศึกษาด้านความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษาด้านความช่วยเหลือและการสนับสนุน เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด และ 3) นักศึกษาเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีตลอดกระบวนการวิจัย ความร่วมมือของเพื่อนในกลุ่มในการวิจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การวิจัยสำเร็จ และการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียนและสถานการณ์ในปัจจุบัน

สรุปผล: โปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสานส่งผลให้ทักษะการวิจัยของนักศึกษาเพิ่มขึ้น นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือเปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวก และยังตระหนักถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการเรียนรู้แบบร่วมมือ

References

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564).การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. ครุศาสตร์สาร. 15 (1),29-43.

พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ และดวงกมล จงเจริญ. (2565). ทักษะการวิจัยของครูนักวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 7(1), 166-178.

สมใจ จันทร์เต็ม. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมบูรณ์ กลางมณี. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาโดยใช้แนวคิดเชิงประสบการณ์ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

สุวิมล ติรกานันท์. (2551).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์.(2551).การออกแบบการวิจัย:วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคณุภาพและผสมผสานวิธีการ.กรุเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Al-Faqi, Abd Alilah Ibrahim. (2011). Blended Learning, the Educational Design- Multi Media-Innovative Thinking. Amman: House of Culture for Publication and Distribution.

Allen, I.E., & Seaman, J. (2010). Learning on Demand: Online Education in the United States, 2009. Sloan Consortium. PO Box 1238, Newburyport, MA 01950.

Chaowatthanakun, K. (2010). The development of a mentoring model for enhancing competency in teaching and conducting classroom action research for pre-service mathematics teachers. Thesis of the Degree of Doctor of Philosophy in Curriculum and Instruction. Bangkok: Silpakorn University.

Creswell, J. W. (2002). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and Qualitative research. Upper Saddle River, New Jersey: Merrill Prentice Hall.

Deshler, D., & Ewert, M. (1995). Participatory action research: Traditions and major assumptions. New York: Ithaca.

Freihat, E.A. (2004). BlendedLearning, Training and Technicality Journal, 62,36-42.

Graham. C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. Retrieved from: http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf.

Hasan, I.M.. (2010). Blended Learning. Published Article, E-Learning Magazine, Al-Mansoura University, 5, 10-11.

Horn, B. M., & Staker, H. (2011). The Rise of K-12 Blended Learning. Unpublished Paper.: Innosight Institute.

Ismail, Al-Gharib Zaher. (2009). E-Learning from Application to Professionalism. Cairo: Alam Al-Kutob (the world of books).

Kember, Devid; & Leung, L.P.Doris. (2005). The influence of active learning experiences on the development of graduate capabilities. Study in Higher Education. 30(2), 155-170.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd edition. Victoria : Deakin University

Salameh, H.A. (2005). Blended Learning the Natural Development of E-Learning. A Paper Presented at the South Valley University, College of Education in Sohaj.

Stringer, E. (1999). Action Research. 2nd Edition, SAGE Publications, Thousand Oaks.

Tawil, H. (2018). The Blended Learning Approach and Its Application in Language Teaching. International Journal of Language and Linguistics, 5(4), 47-53.

Walter, M. (2009). Participatory Action Research. Social Research Methods. In A. Bryman (Ed.), Social Research Methods. London: The Falmer Press.

Webb, F., Smith, C., & Worsfold, K. (2011). Research Skills Toolkit. Retrieved 10 December 2021, from: http://www.griffith.edu.au/gihe/resources-support/graduate-Attributes

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-23

How to Cite

ไพศาลนันทน์ ท. ., ตาลาลักษมณ์ ก. ., & พิบูลย์สมบัติ พ. . (2025). การพัฒนาทักษะการวิจัยและความคิดเห็นของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ ในบริบทการเรียนรู้แบบผสมผสานและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 311–338. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281717

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ