ความมั่นใจในตนเองกับการออกกำลังกายในฟิตเนสของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281322

คำสำคัญ:

ความมั่นใจในตนเอง, การออกกำลังกาย, ฟิตเนส

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: จากกระแสในเหตุการณ์ในปัจจุบัน ประชาชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดีและทำให้ตัวเองมีบุคลิกภาพที่ดี วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือเพื่อศึกษาความมั่นใจในตนเองกับการออกกำลังกายในฟิตเนสของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพมหานครและจะสามารถสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารศูนย์ฟิตเนสต่อไป

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานซึ่งจะผสมผสานระหว่างการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือประชาชนในจังหวัดกรุงเทพที่ออกกำลังกายในฟิตเนส เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ดังนั้น ขนาดตัวอย่างสามารถคำนวณได้จากสูตรไม่ทราบขนาดตัว อย่างของ W.G. Cochran โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และระดับค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 384 ผู้วิจัยจึงใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 ตัวอย่าง ซึ่งถือได้ว่าผ่านเกณฑ์ตามที่เงื่อนไขกำหนด คือไม่น้อยกว่า 384 ตัวอย่าง ผ่านการใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถามโดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 และเอกสารอ้างอิงงานวิจัย และมีการนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หลังจากนั้น ผู้วิจัยจึงนำแบบสอบถามทั้งหมดมาดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

ผลการวิจัย: 1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการออกกำลังกายในฟิตเนสและความมั่นใจในตนเองของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพที่ออกกำลังกายในฟิตเนสไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านเพศมีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายในฟิตเนสและความมั่นใจในตนเองของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพที่ออกกำลังกายในฟิตเนสไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยด้านสถานภาพ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายในฟิตเนสไม่แตกต่างกัน แต่มีผลต่อความมั่นใจในตนเองของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพที่ออกกำลังกายในฟิตเนสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

สรุปผล: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นใจในตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายงของประชาชนในจังหวัดกรุงเทพที่ออกกำลังกายในฟิตเนส การทำความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกายและความมั่นใจในตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการออกกำลังกายและส่งเสริมผลลัพธ์เชิงบวก

References

กฤษดา ตั้งชัยศักดิ์ และ ณรัฐ วัฒนพานิช. (2563). ทัศนคติที่มีต่อการออกกำลังกายและรูปแบบการให้ บริการที่คาดหวังจากสถานออกกำลังกายของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6(2), 369-87.

จุฑามาศ ภิญโญศรี. (2563). มาสร้างความมั่นใจกับเทคนิคทางจิตวิทยา. Retrieved on 20 August 2022 from: https://www.msu.ac.th/msumagaz/smain/readpost.php ?mid=133.

ชยานนท์ อวิคุณประเสริฐ, ปนัสดา อวิคุณประเสริฐ, วณิชยา พันธ์จูม, นฤมล สมจี, กมลรักษ์ คนไว และปวีณา บุทธิจักร์. (2564). การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาในการออกกําลังกายและความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 8 (2), 101-113.

ดาวชมพู นาคะวิโร. (2561). มารยาททางสังคมบกพร่อง อาการคนเมืองใหญ่ที่กำลังแพร่หลายในสังคม. ออนไลน์. Retrieved on 20 August 2022. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/doctor_name/ผศ-พญ-ดาวชมพู-นาคะวิโร/

นาริน เนียมสุคนธ์สกุล (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2560). การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง. Retrieved March 25, 2023 from https://drpiyanan.com/2017/06/25/article1-2/

พรีโมเเคร์ เมดิคอล. (2564). เพื่อนร่วมเดินทาง เคียงข้าง สร้างสุขภาพดีไปกับคุณ. Retrieved on 20 August 2022 from https://primocare.com/.

โรงพยาบาลกรุงเทพ (2562). การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพหัวใจ. Retrieved March 25, 2023 from: https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/exercise-for-healthy-heart/

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (2565). หนัก นาน บ่อย หลัการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก. Retrieved March 25, 2023 from https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/810

วราภรณ์ คำรศ, ชนิดา มัททวางกูร และ ชัยสิทธิ์ ทันศึก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. Chula Med Bull, 1(4), 359 – 368.

ศิริวรรณ จันทนมัฎฐะ. (2564). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. Retrieved on 27 March 2023 from http://nakorns.nfe.go.th/mueang/Nongkradon/index.php/2021-02-09-08-10-40/18-2021-08-08-09-52-34.

สิทธิพงษ์ ปานนาค. (2562). กีฬากับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักเรียน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 37(1), 106-115.

สิรีธร เกกีงาม. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการใช้บริการฟิตเนสขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตภาคกลางภายใต้สถานการณ์การโควิด 19. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุลักษณา ตันติธนวัฒน์. (2560). ทัศนคติต่อรูปลักษณ์ ความเคารพต่อรูปลักษณ์ของตนเอง และความเสมอภาค ทางเพศ ที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อการสื่อสารด้วยสิ่งดึงดูดทางเพศและการ ตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคเพศหญิงกลุ่มมิลเลนเนียล. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัฒน โพธิคุณ (2562). ความมั่นใจสร้างได้. Retrieved March 25, 2023 from: https://www.dmc.tv/pages/ทันโลกทันธรรม/ความมั่นใจถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของคนที่จะประสบความสำเร็จ-ซึ่งความมั่นใจนั้นเป็นส่วนผสมของความสามา.html.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และคณะ. (2561). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 7(2), 43-52.

Ackerman, C.E. (2018). What Are Positive Emotions in Psychology? Retrieved from on 2, 2023, https://positivepsychology.com/positive-emotions-list-examples-definition-psychology/

Argyle, M., Martin, M., & Crossland, J. (1989). Oxford Happiness Inventory (OHI) [Database record]. APA PsycTests. https://doi.org/10.1037/t14420-000

Beenackers, M. A., Kamphuis, C. B., Mackenbach, J. P., Burdorf, A., & van Lenthe, F. J. (2013). Why some walk and others don't: exploring interactions of perceived safety and social neighborhood factors with psychosocial cognitions. Health education research, 28(2), 220-233.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Greenacre, L., Tung, N.M., & Chapman, T. (2014). Self Confidence and the Ability to Influence. Academy of Marketing Studies Journal, 18(2), 169-18.

Grubben, G.J.H., & Denton, O.A. (2004). Plant Resources of Tropical Africa 2. Vegetables. PROTA Foundation, Wageningen, Netherlands.

Hausenblas, H.A., & Fallon, E.A. (2006). Exercise and body image: A meta-analysis. Psychology and health, 21(1), 33-47.

Kanza, D. (2016). The importance of self-confidence in enhancing students’ speaking skills. Mohammed Kheider University of Biskra, Biskra.

Khair, K., Steadman, L., Chaplin, S., Holland, M., Jenner, K., & Fletcher, S. (2020). Parental perspectives on gene therapy for children with haemophilia: The Exigency study. Haemophilia. 27(1), 120-128. doi: 10.1111/hae.14188.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. New York: Wiley & Son.

Lilyquist, K.A. (2005). A Measure of Exercise Motivation: Variation Among Individuals Who Differ in Exercise Regularity. Dissertation Ph.D. Cappella University. Retrieved February 2, 2023, from http://wwwlib.umi.com/dissertation/fullcit

Owen, R.G. (2001). Organizational behavior in education: Instructional leadership and school - reform. Boston: Ally and Bacon.

Pampel, F.C., Krueger, P.M., & Denney, J.T. (2010). Socioeconomic Disparities in Health Behaviors. Annual review of sociology, 36, 349-370.

Perkins, K. (2018). The Integrated Model of Self-Confidence: Defining and Operationalizing Self-Confidence in Organizational Settings. Doctorate of Philosophy in Industrial/ Organizational Psychology. Florida Institute of Technology.

WHO (1999). Guidelines for Community Noise. World Health Organization, Geneva.

Woodgate, J., & Conquer, A. (2008). Exercise and self-esteem: The relationship between self-efficacy and perceived exertion. Canadian Journal of Behavioural Science, 40(3), 214-217.

Zade, T., Mahmoodi, M., & Hashemi, L. (2015). STUDY OF THE EFFECTIVENESS OF EXERCISE ON THE SELF-ESTEEM, HAPPINESS, and QUALITY OF LIFE OF YOUNG. Trends in Life Science.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-12

How to Cite

ชาครปัญญา ศ. ., & หงษ์แสนยาธรรม ป. . (2025). ความมั่นใจในตนเองกับการออกกำลังกายในฟิตเนสของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 939–958. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281322