การพัฒนาสื่อความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.280212คำสำคัญ:
สื่อความจริงเสริม; , การเรียนรู้; , การทำเกษตรอินทรีย์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาสื่อความจริงเสริม (AR) สำหรับการศึกษาด้านเกษตรอินทรีย์ถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสื่อดังกล่าวมอบประสบการณ์การเรียนรู้แบบโต้ตอบและดื่มด่ำที่ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นแนวคิดและเทคนิคที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวทางใหม่นี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจและการมีส่วนร่วม ทำให้เกษตรอินทรีย์เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและน่าสนใจยิ่งขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ 2) เพื่อศึกษาผลการรับรู้ที่มีต่อสื่อความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ 3) เพื่อศึกษาผลความพึงพอใจที่มีต่อสื่อความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่กรณีศึกษา จำนวน 10 คน 2. กลุ่มเกษตรกรที่มาศึกษาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยางโพธิ์แคน ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่กรณีศึกษา 2) สื่อความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบวัดการรับรู้และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) การทำเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ 1) การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ 2) การจัดการดินและน้ำแบบอินทรีย์ 3) การควบคุมศัตรูพืชแบบอินทรีย์ 4) การจัดการขยะและเศษวัสดุอินทรีย์ที่นำมาใช้ประโยชน์ซ้ำ (2) การพัฒนาและประเมินคุณภาพของสื่อความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ได้ดำเนินการตามหลักการออกแบบของ ADDIE Model ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน; 1) การวิเคราะห์ (Analyze) 2) การออกแบบ (Design) 3) การพัฒนา (Develop) 4) การนำไปใช้ (Implementation) และ 5) การประเมิน (Evaluate) (3) ผลการประเมินสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญแสดงให้เห็นว่าคุณภาพของสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะในด้านเนื้อหา การออกแบบ และการปฏิสัมพันธ์และเทคนิคการนำเสนอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 ซึ่งบ่งชี้ถึงคุณภาพที่มีคุณภาพมากที่สุด (4) เกษตรกรมีการรับรู้ต่อสื่อความจริงเสริมในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.12 ผลการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับการรับรู้มากที่สุดทุกข้อ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างยังมีความพึงพอใจต่อสื่อความจริงเสริมในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.05 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจที่มากที่สุดในทุกข้อที่ ซึ่งสื่อความจริงเสริมนี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านคุณภาพ การรับรู้ และความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นการยืนยันถึงประสิทธิภาพของสื่อในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมวิชาการเกษตร. (2537). มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมวิชาการเกษตร.
จักรกฤช ใจรัศมี. (2559). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาหนังสือนอกเวลาผสานความจริงเสริม เรื่อง “รอยช้างทางคน”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อนฤมิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนภร ปฐมวณิชกุล. (2563). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ผสานความจริงเสริมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 58-76.
นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 1-15. https://doi.org/10.1016/j.jom.2016.05.003
พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented reality). วารสารนักบริหาร, 30(2), 169-175.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). รายงานสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ STEM Education. Slideshare. http://www.slideshare.net/focusphysics/stem-workshop-summary
ศิริพร หาญพาณิชย์. (2562). การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ. วารสารวิจัยเกษตรอินทรีย์, 10(1), 55-70.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. https://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/52/lawguide/law1/6.pdf
โสภาพร กล่ำสกุล, & คณะ. (2565). การพัฒนาสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสาร: อาหารปลอดภัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 16(2), 286-317.
อังคณา นิลประพันธ์. (2561). ผลกระทบของการใช้สารเคมีต่อสุขภาพของเกษตรกรและชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Azuma, R. (1997). A survey of augmented reality. IEEE Computer Graphics and Applications, 35(2), 48-58. http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.444.4990&rep=rep1&type=pdf
Chin, K.-Y., Hou, C.-X., Wang, C.-S., & Lee, K.-F. (2017). Using augmented reality technology for the development of historic building teaching application: A Mackay culture course. IEEE Xplore. https://ieeexplore.ieee.org/document/8001726
Gupta, N., & Rohil, M. K. (2017). Exploring possible applications of augmented reality in education. IEEE Xplore. https://ieeexplore.ieee.org/document/8049989
Milgram, P., & Kishino, F. (1994). A taxonomy of mixed reality visual displays. IEEE Transactions on Visualization and Computer Graphics, 1(2), 235-251.
Robbins, S. P. (2003). Organization behavior. 10th edition. New Jersey: Pearson Education.
Scott, P. (1970). The Process of Conceptual Change in Science. New York: Cornell University.
Softengthai. (2014). What is Augmented reality or AR? Retrieved from: http://lprusofteng.blogspot.com/2013/05/augmented-reality-ar.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ