แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศตวรรษ สัตถาผล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0004-5212-2381
  • กฤษกนก ดวงชาทม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0007-3540-0783

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280019

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, พฤติกรรมจิตสาธารณะ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์การวิจัย: ปัญหาวิกฤตทางด้านจิตสาธารณะของเยาวชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา พบว่า เยาวชนกําลังอยู่ในสภาพแห่งความเสี่ยงโดยเฉพาะการใช้ชีวิตในแง่มุม ต่าง ๆ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้หากไม่ได้รับการควบคุม หรือแก้ไขย่อมส่งผลเสียต่ออนาคตของเยาวชนในฐานะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

ระเบียบวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง 356 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 35 คน และครูผู้สอน จำนวน 321 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิจากขนาดของสถานศึกษา แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาแนวทาง จำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนา

ผลการวิจัย: 1. สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การพัฒนาด้วยการใช้ตัวแบบที่ดี 2) การพัฒนาด้วยการจัดสภาพแวดล้อม 3) การพัฒนาด้วยการนำผู้ปกครองและผู้นำชุมชน 4)การพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรม และ 5) การพัฒนาด้วยการจัดการเรียนการสอน 22. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 11 แนวทาง ได้แก่ 1) การพัฒนาด้วยการจัดการเรียนการสอน มี 2 แนวทาง 2) การพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรม มี 3 แนวทาง 3) การพัฒนาด้วยการนำผู้ปกครองและผู้นำชุมชน มี 2 แนวทาง 4) การพัฒนาด้วยการจัดสภาพแวดล้อม มี 2แนวทาง และ 5) การพัฒนาด้วยการใช้ตัวแบบที่ดี มี 2 แนวทาง  โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล: พฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนเป็นคุณลักษณะที่แสดงออกของนักเรียนถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรม หรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจกระตือรือร้นโดยไม่หวังผลตอบแทน นักเรียนที่มีจิตสาธารณะ คือ เป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อนอาสาช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยแรงกาย สติปัญญาลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

References

กรรยา พรรณนา. (2559). จิตสาธารณะสร้างได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์. (2562). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วี พริ้นท์ 1991.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชัน

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2560). จิตสำนึกเพื่อโลกที่ดีกว่า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ชาย โพธิ์สิตา. (2560). จิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : อมรปริ๊นติ้ง.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2562). ทฤษฎีต้นไม้จรยธรรม : การพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2551). จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินฯ.

ธิญดา วงษ์อาชีพ. (2558). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นวลทา จินดาสุ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องจิตสาธารณะของนักเรียน. รายงานการวิจัย โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2562). จิตสาธารณะ: แนวคิดพื้นฐานและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและปลูกฝังจิตสาธารณะให้แก่ผู้เรียน. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 12 กรกฎาคม 2562.

ปิยลักษณ์ พฤกษะวัน. (2554). การศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยด้วยแนวทางการเรียนการสอน MADE. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร. (2562). การพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมศรี ฐานะวุฒิกุล, ฉลอง ชาตรูประชีวิน, วิทยา จันทร์ศิลา, อนุชา กอนพ่วง. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 45-57

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2553). คุณธรรมนำความรู้. กรุงเทพฯ : ฟรีมายด์

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rd edition. New York: Harper and Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. DOI: https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-05

How to Cite

สัตถาผล ศ. ., & ดวงชาทม ก. (2025). แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 51–64. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280019