การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279702คำสำคัญ:
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน; , การสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ; , ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยเรื่องการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8,101 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566) ประชากรในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8,101 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566) แต่เนื่องจากประชากรมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่สามารถเก็บข้อมูลได้หมด จึงจำเป็นต้องทำการสุ่มตัวอย่างตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในการวิจัย โดยใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแบบ Yamane (1973) ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ให้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม 382 คน ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบขั้นตอน (Multi-state Random Sampling) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ถือเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ได้แก่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้าน ใน 6 ตำบลๆ ละ 5 คนรวมเป็น 30 คน ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบโดย ผู้มีส่วนได้เสียกับ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน ครอบคลุม ผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 180 ราย
ผลการศึกษา (1) ผู้สูงอายุมีความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพโดยผู้สูงอายุมีความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับมากที่สุด และรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับมากที่สุด ส่วนการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุเห็นด้วยในระดับน้อยที่สุดในประเด็นการหยุดสูบบุหรี่ ทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อน นอกจากนั้น ผู้สูงอายุรับรู้ความสามารถของตนเองในระดับมากที่สุดในการมีความตระหนักว่าลูกน้ำยุงลายเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ ส่วนด้านการสนับสนุนทางสังคม ผู้สูงอายุมีความเห็นว่าได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก ในประเด็นการได้รับคำแนะนำในการรับวัคซีนที่จำเป็นและความรู้ในการจัดทิ้งขยะอันตราย ผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งปฏิบัติตนตามหลักพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (2) การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประกอบไปด้วย 1) ระบบการเสริมสร้าง เฝ้าระวัง ป้องกันการเจ็บป่วยด้วยกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและองค์ความรู้โดยชุมชน 2) ระบบบริการปฐมภูมิในชุมชน 3) ระบบการฟื้นฟูดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ และ 4) นโยบายเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (3) ประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ในระดับมากในทุกหมวด โดยหมวดที่ 1 ประสิทธิภาพการสร้างความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพมีประสิทธิภาพในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.11) หมวดที่ 2 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.84) หมวดที่ 3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (ค่าเฉลี่ย 3.83) หมวดที่ 4 ความเหมาะสมและความสอดคล้อง (ค่าเฉลี่ย 3.75) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 3.91)
สรุปผล: การศึกษาพบว่าถึงแม้ผู้สูงอายุจะตระหนักถึงพฤติกรรมและกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรค แต่ก็ไม่ค่อยตระหนักถึงต้นทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การเลิกบุหรี่ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีความก้าวหน้ามากขึ้นด้วยรูปแบบที่อิงชุมชน ได้รับคะแนนสูงทั้งด้านการส่งเสริมพฤติกรรมและการเผยแพร่องค์ความรู้ รวม 3.91 คะแนน ในด้านความเหมาะสม
References
กรมการปกครอง. 2566. สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฏร์. Retrieved from: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580). Retrieved from: https://www.dop.go.th/download/laws/th1653553501-843_0.pdf.
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือการดำเนินงาน ตัวชี้วัด ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
กานต์รวี กอบสุข. (2554). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโคกบรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ และ มาริสา สุวรรณราช (2562). สภาพปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 11 (2), 118-132.
ฉลิมพล ตันสกุล. (2543). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์.
ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย และ สุภาพร พลายระหาร. (2561). พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. วารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36 (1), 119-126.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2533). แนวทางในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: กองแปลและวิเทศน์สัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
บัวเรศ ประไชโยและคณะ. (2538). โครงการศึกษาปาชุมชน ประจําปี 2538 เรื่องการจัดการป่า ท้องถิ่น กรณีศึกษาป่าชุมชนโสกนาค ตําบลวังม่วงจังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2540). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล, พิมพ์ครั้งที่ 7.
ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์. (2531). การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารการพัฒนาชุมชน. 27 (2), 24-30.
มันโซร์ ดอเลาะ. (2559). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา: ตำบลบาละ อําเภอกาบัง จังหวัดยะลา. ยะลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ไทยอนุเคราะห์ไทย.
ระวี อินจินดา. (2542). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนบ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วริยา บุญทอง และพัชรา พลเยี่ยม. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ปี 2564 เขตสุขภาพที่ 6. ชลบุรี: เขตสุขภาพที่ 6
ศศิธร ปรีชา และสิทธิชัย เอกอรมัยผล. (2558). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครเขตเศรษฐกิจของเมือง กรณีศึกษากลุ่มวิภาวดี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ศิริพรรณ บุตรศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์อนามัยที่ 4. (2566). พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สุงอายุ. Retrieved from: https://region4.anamai.moph.go.th/knowledge/knowledgebox/knowledge/view?id=192
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ (2566). ข้อมูลสุขภาพของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่.
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ. (2566). ข้อมูลสุขภาพของประชาชน พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน). Retrieved from: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
สุจินดา สุขรุ่ง, อารยา ปรานประวิตร และอารี พุ่มประไวทย์. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้กระบวนการ AIC: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (2), 159-176.
สุชาติ โสมประยูร. (2525). องค์ประกอบของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์ และ ฤทธิชัย แกมนาค. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย ในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
อินทุกานต์ กุลไวย และ สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2552) ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งอดทน และการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1985). Intrinsic Motivation and Self-Determination in Human Behavior. Berlin: Springer Science & Business Media. https://doi.org/10.1007/978-1-4899-2271-7
Glanz, K., Rimer, B. K., & Viswanath, K. (2008). Health behavior and health education. In C. T.Orleans (Ed.), Health education. 4th edition. San Francisco: Jossey-Bass.
Gochman, D.S. (1988). Health behavior: Emerging research perspectives. New York: Plenum Press.
Good, C.V. (1959). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill
Kals, S. V., & Cobbs, S. (1966). Health behavior, illness behavior, and sick-role behavior. Archives of Environmental Health. An International Journal, 12(4), 531-541.
Pender, N. J., Murdaugh, N. I., & Parson, M. A. (2002). Health promotion in nursing practices. 4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Pender, N.J. (1987). Health Promotion in Nursing Practice. 2nd (ed). Connecticut: Appleton & Lange.
Smith, J., & Johnson, R. (2021). Integrating local wisdom and materials in the development of rehabilitation equipment for the elderly: A collaborative approach with hospital experts. Journal of Geriatric Rehabilitation, 34(2), 101-112.
United Nations Population Funds. (2023). Ageing. Retrieved from: https://www.unfpa.org/ageing.
World Health Organization. (2023). World Health Statistics 2022: Monitoring Health for the SDGs, sustainable development goals. Retrieved from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/356584/9789240051140-eng.pdf?sequence=1.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ