การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279041คำสำคัญ:
รูปแบบการสอน, แนวคิดเชิงออกแบบ, นวัตกรรม, การศึกษาพิเศษบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบเน้นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการออกแบบและการแก้ปัญหา รูปแบบนี้มีลักษณะเด่นที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง และการคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต และ 2.พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 30 คน อาจารย์ จำนวน 5 คน ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและนักวิชาการทางการศึกษาพิเศษ จำนวน 5 คน
ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนทั้งหมด 5 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ จำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต จากนักศึกษาจำนวน 30 คน พบว่าค่าเฉลี่ยของความคาดหวังสูงกว่าสภาพจริง ค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมด เท่ากับ (4.64/4.21) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมทั้งหมด เท่ากับ (0.61/1.04) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมด เท่ากับ 4.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทั่งหมด เท่ากับ 0.36 โดยมีระดับความเหมาะสม มากที่สุดและผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมด เท่ากับ 4.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทั่งหมด เท่ากับ 0.29 โดยมีระดับความเหมาะสม มากที่สุด
สรุปผล: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต ประกอบไป ด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ประกอบด้วย 3.1 การเข้าใจความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง (Consider) 3.2. การสร้างความคิด (Idea) 3.3. การสร้างผลผลิต (Prototype) 3.4. การทดลองใช้ (Trial) 4) การสนับสนุนสื่อและแหล่งการเรียนรู้ 5) การประเมินผลและปรับปรุง และ 6) บทบาทสู่การพัฒนานวัตกรรม
References
กมลวรรณ ตังธนกานนท์ (2563). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 และ แกไข เพิ่มเติม(ฉบับ ที่ 2) พุทธศักราช 2545. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชญาภรณ์ เอกธรรมนางสุทธิ์. (2562). รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36 (2), 1-14.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย. พิมพ์ครั้งที่6,ตักสิลาการพิมพ์ มหาสารคาม.
ทวี เชื้อสุวรรณทวี. (2562). พิการศึกษาเชิงวิพากษ์และบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล. (2564). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกล ยุทธ์และการคิดนอกกรอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน, 15 (2), 11-30.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน : สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 25 (85), 31-36.
ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การเรียนร่วมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพ: แว่นแก้ว.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2556. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 130 ตอนที่ 42 ก วันที่ 17 พฤษภาคม 2556.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล (2561). คู่มือออกแบบชีวิตด้วย Design thinking. กรุงเทพฯ : บุ๊คสเคป.
ยุวดี วิริยยางกูร, วิมล เถาวัลย์ และ ภทรา นาพนัง (2564). การจัดการเรียนรวม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรียา นิยมธรรม. (2548). เทคโนโลยีสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ1. กรุงเทพฯ : รำไทย เพลส.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย และมนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการสร้าง นวัตกรรมการศึกษาของครูโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2566). วิธีสอนสมัยใหม่ Modern Teaching Methods. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2557). Very Intro To Design Thinking. Retrireived from: http://www.cu-tcdc.com/very-intro-to-design-thinking/?lang=TH
สมจิตต์ สินธุชัย (2559).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้และการสะท้อนคิดการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2564). หลักการและทฤษฏีการออกแบบการสอน. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์.
อัฐวุฒิ จ่างวิทยา. (2561). วิวัฒนาการของการคิดเชิงออกแบบ: จากกลยุทธการแก้ปัญหาของภาคธุรกิจสู่องค์ความรู้ในภาควิชาการ และไปสู่การย่อส่วนเพื่อนำไปปฏิบัติจริงในพื้นที่. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11 (3), 1944-1957.
Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review, 86, 84-92. https://www.researchgate.net/publication/5248069_Design_Thinking
Dick, W., & Carey, L. (2009). The systematic design of instruction. Glenview, IL: Scott, Foresman and Company.
Joyce, M., & Weil, E.C. (2009). Models of Teaching. 6th edition, Boston: Allyn and Bacon.
Kruse, K. (2008). Instructional design. Retrieved March 14, 2008, from http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm
The Stanford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). An Introduction to Design Thinking. Retrieved November 19, 2020, from https://dschoolold.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAM P2010L.pdf
Trias De Bes, F., & Kotler, P. (2011). Winning At Innovation. Palgrave Macmillan.
UK Design Council. (2017). Designers across disciplines share strikingly similar approaches to the creative process, which we’ve mapped out as ‘the Double Diamond’. Retrieved No vember 19, 2020, from http://www.designcouncil.org.uk/news-opinion/design-pro cess-what-double-diamond
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ