การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276173คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ; , ผู้บริหารสถานศึกษา; , วิทยาลัยเทคนิคบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาเรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน
ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ครูวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 487 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 215 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกนและได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบ สมมติฐานได้แก่ t-test และ F-test
ผลการศึกษา: (1) การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน (3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น จำแนกระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่าง แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านครูที่มีประสบการณ์การทำงาน ด้านงานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านงานวัดผลประเมินผลและด้านสื่อการเรียนการสอน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล: ผลการศึกษาพบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามเพศและระดับการศึกษา อย่างไรก็ตาม พบว่าการพัฒนาหลักสูตร การประเมินผล และสื่อการสอนมีความแตกต่างกันตามประสบการณ์การทำงานของครู โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กาญจนา ชุมเชิงกาญจน์. (2554). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองโพนเงิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
ฐาปนันท์ กันยา และพรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ. (2558). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 101 - 110.
ธนัฏฐา คุณสุข. (2565). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประเสริฐ บรรจง. (2561). ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดสระบุรีสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.
ปาล์มวลี บุญเอี่ยม. (2560). ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจำนงค์ สำนักงานเขตดินแดง. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลักษณ์ประภา สุวรรณสมบัติ. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ. สถานศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สมพร ใจสิงหล. (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดบัวหวั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ